กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3663
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง ความน่าจะเป็น ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of mathematics learning activities management using problem based learning in the topic of probability on mathematics learning achievement and satisfaction with learning activities of Mathayom Suksa III students at Betty Dumaine 2 Chong Mek School in Ubon Ratchathani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สาคร บุญดาว
ทิราวรรณ์ ปริโต, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณิตศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ (2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนดังกล่าวที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยคือแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องความน่าจะเป็น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องความน่าจะเป็น และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฏว่า(1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียน เรื่องความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ ดังกล่าวก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และ (2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3663
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_145426.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons