กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/367
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงเส้นใยจากต้นปุดสำหรับการประยุกต์ใช้งานด้านสิ่งทอ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement of Achasma macrocheilos Griff fibers treatment for textile applications
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: แววบุญ แย้มแสงสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
กิตติพงศ์ พัฒนไพศาลสิน, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์
เส้นใยพืช--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงเส้นใยเซลลูโลสจากต้นปุดเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งทอ วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ศึกษาสมบัติของเส้นใยที่ผ่านการปรับปรุงทั้งวิธีเคมีและวิธีกล และศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เส้นใยปุดในงานด้านสิ่งทอ วิธีการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน (1) การเตรียมเส้นใยโดยการคัดเลือกต้นปุด ตีแยกเส้นใยด้วยเครื่องตีแยก และนำมาอบแห้ง (2) ปรับปรุงเส้นใยที่ผ่านการอบแห้งด้วยวิธีเคมีและวิธีกล วิธีเคมีทำโดยแช่เส้นใยในสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซค์เข้มข้น 0%, 5%, 10%, 15% และ 20% เป็นเวลา 7 วัน วิธีกลทำการแยกเส้นใยด้วยเครื่องบีบอัดที่แรงกด 4 บาร์ เวลา 10, 15 และ 20 นาที ตามลำดับ (3) ทดสอบสมบัติของเส้นใยที่ผ่านการปรับสภาพด้วยวิธีเคมีและวิธีกล ด้วยกล้องจุลทรรศน์ และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราดด้วยเทคนิคการกระจายพลังงานรังสีเอ็กซ์ เครื่องทดสอบแรงดึง และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของเส้นใย ผลการวิจัยพบว่า การปรับปรุงเส้นใยทั้งวิธีเคมีและวิธีกล ทำให้เส้นใยมีขนาดเล็กลงได้ โดยวิธีเคมีจะได้เส้นใยที่มีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าวิธีกล อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการปรับปรุงเส้นใยวิธีเคมีและการปรับปรุงเส้นใยวิธีกล โดยใช้เครื่องบีบอัด พบว่า วิธีเคมีใช้เวลานานกว่า และอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ สภาวะที่เหมาะสมในการใช้เครื่องบีบอัดเส้นใยคือที่แรงดัน 4 บาร์ เวลา 10 นาที โดยมีค่าการรับแรงดึงของเส้นใยเท่ากับ 102.45 เซนตินิวตัน ซึ่งเส้นใยที่ได้เหมาะสำหรับงานเคหะสิ่งทอ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/367
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_162210.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons