กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3694
ชื่อเรื่อง: การเยียวยาผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษที่เพิ่มขึ้นหรือกลับคืนสู่ฐานะเดิม พ.ศ. 2547
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Remedies of disciplinary punishment of the policemen by the police commission regulation B.E. 2004
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม
เทพวิสิทธิ์ โพธิเก่งฤทธิ์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทัณฑกรรม
การลงโทษ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องที่เกี่ยวกับวิธีการเยียวยาผู้ถูกลงโทษทางวินัยโทษทัณฑ์กรรม กักยาม กักขัง และต่อมาได้รับการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกโทษหรือได้รับโทษน้อยลงตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษที่เพิ่มขึ้นหรือกลับคืนสู่ฐานะเดิม พ.ศ. 2547 (2) เพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการปรับปรุง แก้ไข วิธีการเยียวยาผู้ถูกลงโทษทางวินัยโทษทัณฑ์กรรม กักยาม กักขัง และต่อมาได้รับการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกโทษหรือได้รับโทษน้อยลงตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษที่เพิ่มขึ้นหรือกลับคืนสู่ฐานะเดิม พ.ศ. 2547 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเอกสาร ซึ่งใช้วิธีการศึกษาข้อมูลที่ผสมผสานกนระหว่างการวิจัยเอกสารทั้งขั้นปฐมภูมิ และขั้นทุติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า (1) ตามกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษที่เพิ่มขึ้นหรือกลับคืนสู่ฐานะเดิม พ.ศ. 2547 นั้นอาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังไม่มีนโยบายเยียวยาผู้ถูกลงโทษทางวินัยอย่างแท้จริง อีกทั้งการลงทัณฑ์ลักษณะดังกล่าวยังไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง และยังไม่มีส่วนราชการพร้อมงบประมาณที่จะใช้ในการเยียวยาตามกฎ ก.ตร.นี้ จึงยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และรูปแบบวิธีการเยียวยาที่ถูกต้องและยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อยางใด (2) สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องกำหนดนโยบายและหน่วยงานที่รับผิดชอบในเยียวยาผู้ถูกลงโทษทางวินัยอย่างจริงจังพร้อมกับให้มีการดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ในเรื่องการจัดตั้ง “กองทุนเยียวยาผู้ถูกลงทัณฑ์ทางวินัย” และแก้ไขกฎ ก.ตร.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ผู้ถูกลงโทษตามคำสั่งเดิมรับโทษที่เพิ่มขึ้นหรือกลับคืนสู่ฐานะเดิม พ.ศ. 2547 ในเรื่องคำนิยามบททั่วไปคณะกรรมการพิจารณาค่าทดแทน การดำเนินการทางวินัย อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ และสำนักงานช่วยเหลือแก่ผู้เสียหายในการดำเนินการทางวินัย พนักงานเจ้าหน้าที่ และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนผู้เสียหายในการดำเนินการทางวินัย การยื่น คำขอและการพิจารณาคำขอและการอุทธรณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3694
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons