กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3710
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems of election case trials in appeal courts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญญาภรณ์ ซอศรีสาคร, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเลือกตั้ง--การพิจารณาและตัดสินคดี
การพิจารณาและตัดสินคดี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “ปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการขององค์กรที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้งและควบคุมการเลือกตั้งและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยคดีเลือกตั้ง 2) เพื่อศึกษาการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในศาลอุทธรณ์ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในศาลอุทธรณ์ และ 4) เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติได้และนำมาปรับใช้ในกระบวนพิจารณาคดีเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นในศาลอุทธรณ์ การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางเอกสาร (Documentary Research) โดยค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ตำราทางกฎหมาย วารสาร เอกสาร บทความทางวิชาการ รายงานการประชุมสัมมนา ผลงานการวิจัยของผู้ทรงคุณวุฒิหรือนักวิชาการ วิทยานิพนธ์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง คําสั่งศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ระเบียบที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต (Internet) และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเลือกตั้งในศาลอุทธรณ์เกิดจากการตีความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายของศาลที่แตกต่างกันและกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งบัญญัติไม่สอดคล้องกัน อันทําให้การทําวินิจฉัยหรือคําสั่งมิได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ขาดความเป็นเอกภาพ นอกจากนี้ในการพิจารณาคดีเลือกตั้งใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาศาลควรมีอำนาจสั่งในเรื่องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมิได้มีค่าขอมาในศาร้องหากปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อว่ามีการทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดย สุจริตและเที่ยงธรรม และการที่ให้คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด โดยไม่ให้ศาลในลำดับที่สูงกว่าได้ทบทวนคำวินิจฉัยหรือคําสั่งของศาลล่างก่อนนั้นเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงควรมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีเลือกตั้ง เพื่อนำมาปรับใช้ในการพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3710
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons