กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3716
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการออกโฉนดที่ดินกรณีครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Issuance of title deeds in case of occupancy and utilization of land after the land code enforcement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิกรณ์ รักษ์ปวงชน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระภาคย์ เลิศงามธนวัฒน์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กรรมสิทธิ์ที่ดิน
การถือครองที่ดิน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องปัญหาการออกโฉนดที่ดินกรณีครอบครองและทําประโยชน์ในที่ดินหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษากระบวนการออกโฉนดที่ดินหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ เพื่อปรับปรุงวิธีการออกโฉนดที่ดิน เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายมาตรา 59 ทวิ เพิ่มเติมโดยข้อ 8 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 (พ.ศ. 2515) การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ ใช้วิธีการค้นคว้าเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการรวบรวมข้อมูลแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นหลัก และใช้วิธีการศึกษาเชิงวิเคราะห์ทางนิติศาสตร์ (Legal Analysis) โดยการศึกษาจากเอกสาร ตําราทางวิชาการ บทความงานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาของศาล ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ รวมทั้งระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการออกเอกสารสิทธิ์ ผลการศึกษาพบว่า กรณีการครอบครองและทำประโยชน์ภายหลังประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ สามารถขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้เพียงวิธีเดียว คือ การเดินสํารวจออกโฉนดที่ดินตาม มาตรา 58 โดยถือเป็นบุคคลตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสอง (3) คือ ผู้ซึ่งได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่มีใบจอง ใบเหยียบย่ำ หรือไม่มีหลักฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพขัดต่อหลักความรวดเร็ว และการอำนวยความสะดวก ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เพราะเป็นการจํากัดสิทธิของประชาชน ส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคกันทางกฎหมาย ไม่มีเสรีภาพ ในการยื่นขอออกโฉนดที่ดินแบบวิธีอื่นที่รัฐมีอยู่แล้ว บทสรุปเป็นการศึกษากระบวนการทั้งหมดและได้มีการเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาแก่หน่วยงานภาครัฐ 3 ข้อ คือ ได้เป็น (1) การกำหนดหลักเกณฑ์ในการยื่นขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายที่สํานักงานที่ดิน (2) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (3) กําหนดมาตรการในทางการดำเนินการในการรับคําขอออกโฉนดที่ดินแบบเฉพาะรายที่สํานักงานที่ดิน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3716
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.64 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons