กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3721
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการการพลเรือน ต่อ ก.พ.ค.
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems relating to the civil servant’s appeal of gross disciplinary punishment order against MSPC
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เธียรวิชญ์ ศรีจันทร์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วินัย--อุทธรณ์
วินัย
การลงโทษ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด เกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการพลเรือน ศึกษาขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนในประเทศไทยและต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการพลเรือนต่อ ก.พ.ค. และวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการพลเรือน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์คําสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฝรั่งเศส เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมมาปรับใช้กับการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนในประเทศไทยในกรณีลงโทษวินัยอย่างร้ายแรง ผลการศึกษาพบว่า ในกรณีมีคำสั่งลงโทษวินัยอย่างร้ายแรงนั้น คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) ไม่มีมาตรการในการควบคุมระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยให้อยู่ในกรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยเป็นระบบบังคับ อุทธรณ์โดยตรงต่อ ก.พ.ค. เท่านั้นทำให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยไม่มีทางเลือกอื่น และ ก.พ.ศ. ไม่มีวิธีการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด จึงเสนอแนะว่าหาก ก.พ.ศ. พิจารณาอุทธรณ์เป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้อุทธรณ์มีสิทธินำคำอุทธรณ์นั้นไปฟ้องยังศาลปกครองชั้นต้นได้โดยทันที และ ก.พ.ค. จะต้องส่งพยานหลักฐานที่ได้มาในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ให้กับศาลปกครองชั้นต้นที่รับฟ้องไว้พิจารณาภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบหรือรับแจ้งจากศาลปกครองชั้นต้น ผู้ถูกลงโทษมีสิทธิเลือกที่จะอุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ ก.พ.ค. หรือหากผู้ถูกสั่งลงโทษได้ดำเนินการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองตามที่กฎหมายบังคับไว้แล้วสามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองชั้นต้นได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคำสั่งลงโทษบัญญัติให้มีวิธีการคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ ของ ก.พ.ศ.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3721
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons