กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3730
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on the enforcement of power of the committee under the request order of the Committee of House of Representative and Senate Act, B.E.2554
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวพล วิชัยคำมาตย์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อำนาจนิติบัญญัติ--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการในการออกคำสั่งเรียกบุคคลหรือเรียกพยานเอกสารตามพระราชบัญญัติกาสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอ๋านาจการสวนของคณะกรรมาธิการ เนื่องจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่สอบสวนของคณะกรรมาธิการไว้กว้างและยังขาดความชัดเจนอยู่พอสมควรทั้ง ๆ ที่พระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติขึ้นมาเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยบรรทัดฐานในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ในการศึกษาครั้งนี้ผู้เขียนได้ศึกษาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการของประเทศไทยเปรียบเทียบกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการในประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ซึ่งคณะกรรมาธิการในประเทศที่นํามาเปรียบเทียบข้างต้น ถือเป็นคณะกรรมาธิการที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพสอดคล้องกับหลักพื้นฐานสากลเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก จากการศึกษาพบว่าการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ส่งผลให้มีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับลักษณะการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ได้รับคําสั่ง ปัญหาเกี่ยวกับขอบเขตการใช้อำนาจของคณะกรรมาธิการ ขาดความชัดเจนเกี่ยวกับการออกคำสั่งที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้อำนาจทางตุลาการของศาลปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ที่ทําหนดเพียงหลักการกว้าง ๆ แต่ไม่ระบุขั้นตอนการทํางานชัดเจนและปัญหาเกี่ยวกับสภาพบังคับของพระราชบัญญัติคําสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ที่กำหนดขั้นตอนการดำเนินการลงโทษทางอาญาแบบรวบรัดให้อำนาจดุลพินิจ คณะกรรมาธิการแบบบาคการไตร่ตรองและมีการกำหนดโทษหนักเกินกว่าความเป็นจริง ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการขัดต่อหลักนิติรัฐและหลักประชาธิปไตย ดังนั้นการศึกษาค้นคว้าอิสระถบับนี้จึงเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการโดยเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ส ให้มีความชัดเจนและมีมาตรการเกี่ยวกับการคุ้นครองสิทธิของผู้ถูกออกคำสั่งเรียก โดยนําหลักกฎหมายจากประเทศที่ศึกษา เปรียบเทียบ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ มาเป็นแนวทางศึกษาทั้งนี้เพื่อให้อำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมาธิการของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภา พ.ศ. 2554 เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3730
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons