กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/383
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยด้วยผังกราฟิกสำหรับครูปฐมวัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of knowledge and ability for activity management to develop preschool children’s analytical thinking with graphic organizers for preschool teachers in Bangkok Metropolis and Vicinity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อรุณี หรดาล
ชนิพรรณ จาติเสถียร
คำสำคัญ: การศึกษาปฐมวัย -- กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แหล่งอ้างอิง: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 14, ฉบับที่ 1 (ม.ค. - มิ.ย. 2564), หน้า 1-14
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูปฐมวัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก่อนและหลังเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยด้วย ผังกราฟิก 2) ศึกษาความสามารถของครูปฐมวัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมหลังเข้ารับการอบรม และ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัยที่ดูแลรับผิดชอบสอนเด็กที่มีอายุระหว่าง 4-6 ปี ในปีการศึกษา 2563 สถานศึกษาปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และปทุมธานี จำนวน 25 คน ที่สมัครใจและสามารถเข้ารับการอบรมได้ทั้งสองวัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ เอกสารประกอบการอบรม แบบทดสอบความรู้ความเข้าในการจัดกิจกรรม แบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการอบรม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ครูปฐมวัยที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยด้วยผังกราฟิกสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ครูปฐมวัยที่เข้ารับการอบรมมีความสามารถเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ครูสามารถออกแบบกิจกรรมการใช้ผังกราฟิกได้หลากหลาย และเลือกใช้ผังกราฟิกได้เหมาะสมกับการคิดวิเคราะห์ที่ต้องการพัฒนา แต่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการใช้ตำแหน่ง เส้น สี รูปทรงเรขาคณิต และภาพที่แสดงความหมายที่จะช่วยเชื่อมโยงความคิดให้ทำความเข้าใจความคิดรวบยอดที่เรียนรู้ได้ง่ายและชัดเจนขึ้น และ 3) ครูปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการอบรมในระดับมากที่สุด
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/383
ISSN: 1905-4653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:STOU Education Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
44185.pdfเอกสารฉบับเต็ม659.88 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น