กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3841
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมีเรื่อง กรด-เบสที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using chemistry calculate problem solving exercises in the topic of acid-base on learning achievement of Mathayom Suksa VI of Mahapruttaram Girls’ School, Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินภา วัฒนะโชติ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน -- การศึกษาเฉพาะกรณี
การแก้ปัญหา -- เคมี
เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- ไทย -- กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ -- หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมี เรื่องกรด – เบส ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมีของนักเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ การแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมี เรื่องกรด – เบส กับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร 1 ห้องเรียน จำนวน 39 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้คือ 1) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมี เรื่องกรด – เบส 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเรื่องกรด – เบส ใช้เวลาในการทดลอง 17 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมี เรื่องกรด-เบส มีประสิทธิภาพ 82.95/81.28 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีโดยใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาโจทย์คำนวณวิชาเคมีเรื่อง กรด – เบส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หลังจากใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3841
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159403.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons