Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3884
Title: การจัดการการเกษตรผสมผสานของเกษตรกรต้นแบบ
Other Titles: integrated farming production management of sample agriculturists
Authors: สัจจา บรรจงศิริ
ปรีชา มีพร้อมพันธ์, 2496-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
เกษตรกรรมแบบผสมผสาน
เกษตรทฤษฎีใหม่
การบริหารการเกษตร
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการผลิตและองค์ประกอบต่างๆ ในการจัดการเกษตรผสมผสาน 2) ศึกษาองค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคนิค และวิธีการต่างๆ ที่นำมาใช้ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของระบบเกษตรผสมผสาน 4) วิเคราะห์ปัจจัย ความสําเร็จของเกษตรกรต้นแบบ โดยศึกษาวิจัยขอบเขตของการจัด การเกษตรผสมผสานของเกษตรกรเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและขายเท่าที่ทำได้ตามกำลัง แรงงานและทุน ที่มีอยู่โดยไม่ก่อให้เกิดหนี้สิน การศึกษาวิจัย ได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อ มูล จากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรต้นแบบจำนวน 5 ราย ในประเทศไทย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากเกษตรกรดีเด่น หรือเกษตรกรต้น แบบที่ได้รับรางวัล และการรับรองจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการรวบรวมข้อมูล จากบันทึกข้อมูลทุติยภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์เอกสารงานวิจัย การจำ แนกและจัดระบบข้อมูล วิเคราะห์ส่วนประกอบ สาเหตุและการเชื่อมโยงข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการจัด การเกษตรผสมผสาน ผลการศึกษาวิจีย พบว่า 1) ระบบการผลิตและองค์ประกอบต่างๆ ในการจัด การเกษตรผสมผสาน เกษตรกรต้น แบบทั้ง 5 ราย ได้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม มีการใช้แรงงาน ทุน ที่ดิน ปัจจัยการผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ นำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับ การผลิตอีกชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร 2) องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคนิค และวิธีการต่างๆ พบว่า เกษตรกรได้มี การเรียนรู้ และนำประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาและปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละคน ประกอบด้วย องค์ความรู้ ภูมิปัญญา เทคนิค วิธีการต่างๆ ทางด้านการผลิต และการดำเนินชีวิต 3) ความสัมพันธ์ของระบบเกษตรผสมผสาน พบว่า มีความสัมพันธ์กันในลักษณะพึ่งพาเกื้อกูลสานประโยชน์กัน ระหว่างเกษตรกร พืช สัตว์ และทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบรูณ์ด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก 4) ปัจจัยความสำเร็จของเกษตรกรต้นแบบ พบว่า เกษตรกรให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ในการจัดการเกษตรผสมผสาน ประกอบด้วยปัจจัยภายใน ได้แก่ การจัดการน้ำที่ดี การทำบัญชีครัวเรือน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งด้านจริยธรรมและการปฏิบัติตนที่ดี และปัจจัย ภายนอก ได้แก่ การมีเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3884
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_144655.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons