กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3890
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าว กข 6 ของเกษตรกร หมู่ที่ 7 ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of costs and returns of RD 6 rice production by farmers in Moo 7, Kutsa Sub-district, Mueang District, Udon Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อัจฉรา โพธิ์ดี
ไพวรรณ์ พวาศิริ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าว--ต้นทุนการผลิต
ข้าว--อัตราผลตอบแทน
การศึกษาอิสระ--การจัดการการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการผลิตข้าว กข 6 ของเกษตรกร 3) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าว กข 6 ของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหาในการผลิตข้าว กข 6 ของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรในหมู่ที่ 7 ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว กข 6 ปี การผลิต 2557 จำนวน 50 ราย โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทุกราย เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่า เฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.82 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มประสบการณ์การปลูกข้าวเฉลี่ย 34.36 ปี สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 5.28 คน เป็นแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 4.08 คน เกษตรกรทุกคนใช้ทุนของตนเองในการปลูกข้าว มีพื้นที่การเกษตรเฉลี่ย 13.82 ไร่ พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 8.64 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ของตนเอง 2) เกษตรกรทุกรายปลูกข้าวโดยวิธีปักดาส่วนใหญ่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เอง ใช้เมล็ด พันธุ์เฉลี่ย 3.81 กิโลกรัมต่อไร่ มีการไถดะ ไถแปร และไถคราดทุกราย สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย ระยะห่างในการปักดา เฉลี่ย 28.60 เซนติเมตร จำนวนต้นเฉลี่ย 3.8 ต้น ต่อกอปลูกข้าวโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลักจึงไม่มีการให้น้ำ 3) เกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 356.75 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,240.21 บาทต่อไร่ ประกอบด้วยต้นทุนที่เป็นเงินสดและต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสดเฉลี่ย 880.08 บาทต่อไร่ และ 3,360.13 บาทต่อไร่ ตามลำดับ รายได้เฉลี่ย 4,280.97 บาทต่อไร่ มีกำไรเฉลี่ย 40.76 บาทต่อไร่ ทั้งนี้ต้นทุนมากที่สุดคือค่าแรงงานโดยเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้แรงงานครอบครัวในการปลูกข้าว จึงทำให้ต้นทุนที่เป็นเงินสดค่อนข้างต่ำ และต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสดค่อนข้างสูง 4) ปัญหาที่สำคัญในการผลิตข้าว คือปุุ๋ยราคาแพง ค่าแรงงานสูง และขาดแคลนแรงงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3890
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_145875.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons