กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3899
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Members' loan behaviors of Nakhon Si Thammarat Public Health Savings Cooperatives Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น สิริพร ผลจันทร์, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช--สมาชิก การกู้ยืม การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของสมาชิกสหกรณ์ 2) สภาพทางเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ 3) พฤติกรรมการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้เงินกู้ของสหกรณ์กับพฤติกรรมการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ ประชากรที่ศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช จำกัด จำนวน 3,661 คน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ จำนวน 361 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศหญิง อายุไม่เกิน 44 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส กลุ่มงานวิชาการ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปี 2) สภาพทางเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 30,001-40,000 บาท มีค่าใช้จ่ายในครอบครัว เฉลี่ยต่อเดือน 10,001- 20,000 บาท ภาระหนี้ทั้งหมดของตนเองกับสหกรณ์เฉลี่ย 1,500,000 - 2,000,000 บาท 3) พฤติกรรมการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ ด่านเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ใช้บริการเงินกู้จำนวน 70,001 บาทขึ้นไป ร้อยละ 52.4 วัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายส่วนตัว ร้อยละ 56.0 ความถี่ในการกู้ยืมเงิน 1 ครั้งต่อปี ร้อยละ 38.2 ด้านเงินกู้สามัญ ใช้บริการเงินกู้จำนวน 1,500,001 - 2,000,000 บาท ร้อยละ 56.5 วัตถุประสงค์เพื่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต ร้อยละ 48.5 ความถี่ในการกู้ยืมเงิน 1 ครั้งต่อปี ร้อยละ 71.5 ด้านเงินกู้พิเศษ ส่วนใหญ่ไม่ใช้บริการเงินกู้ร้อยละ 90.6 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การให้เงินกู้ของสหกรณ์กับพฤติกรรมการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ ด้านความเพียงพอของวงเงินกู้ งวดชำระหนี้เงินกู้ วัตถุประสงค์ของการให้เงินกู้และระเบียบการให้เงินกู้ ทั้งเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน เงินกู้สามัญ และเงินกู้พิเศษ โดยรวมเห็นว่า มีความเหมาะสมในระดับมากทุกด้าน ยกเว้น วงเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 5) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินของสมาชิกสหกรณ์ ได้แก่ สหกรณ์ควรขยายวงเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน และ เงินกู้สามัญ ควรศึกษาความต้องการของสมาชิกในการให้บริการด้านสินเชื้อของสหกรณ์ ควรลดดอกเบี้ยเงินกู้และหาแนวทาง แก้ไขเร่งรัดหนี้จากสมาชิกที่ถึงกำหนดชำระ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3899 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_146738.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License