Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/389
Title: ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการกับความรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อของข้าราชการพลเรือนสามัญ
Other Titles: The problems of relationship between the disciplinary liability based on official duties negligence and the tort liability when official duties negligence in Civil Servants
Authors: มาลี สุรเชษฐ
กายสิทธิ์ แก้วยาศรี, 2506- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เอกศักดิ์ ตรีกรุณาสวัสดิ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
ความรับผิด (กฎหมาย)
ความประมาทเลินเล่อ
ข้าราชการพลเรือน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความรับผิดทางละเมิดตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบความรับผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.2551 กับองค์ประกอบความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (3) ความสัมพันธ์ความรับผิดทางวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ในกรณีที่ได้กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (4) แนวทางในการบังคับใช้กฎหมายและการดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการพลเรือนสามัญผู้กระทำละเมิดอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ งานวิจัย คู่มือ ตำรา หนังสือตอบข้อหารือของสำนักงาน ก.พ. แนวทางการดำเนินการทางวินัย และการลงโทษทางวินัย และความรับผิดทางละเมิดของของเจ้าหน้าที่ การวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของความผิดวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการกับความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อมีความสัมพันธ์กัน แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือ ความเสียหาย ของราชการทางวินัยจะครอบคลุมกว้างกว่าความเสียหายทางละเมิดเพราะรวมถึงความเสียหายต่อระบบงาน และความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อทางราชการด้วย และจำนวนความเสียหายทางวินัยอาจไม่ใช่จำนวนเดียวกันกับความเสียหายทางละเมิดในการกระทำครั้งเดียวกันส่วนระดับความร้ายแรงของความรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่จะขึ้นอยู่กับระดับความประมาทเลินเล่อ แต่ระดับความร้ายแรงของความรับผิดทางวินัยจะขึ้นอยู่กับระดับความเสียหายของทางราชการที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำผิดวินัยแต่อาจถือเป็นเหตุลดหย่อนโทษวินัยถ้าได้บรรเทาความเสียหายแก่ทางราชการก่อนการสอบสวนวินัยเสร็จสิ้นดังนั้น เมื่อข้าราชการพลเรือนสามัญกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อไม่ว่าโดยการประมาทเลินเล่อธรรมดาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ย่อมถือว่ามีมูลความผิดวินัยฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการที่จะต้องดำเนินการและอาจต้องรับผิดวินัยอีกทางหนึ่ง โดยไม่ถือเป็นการลงโทษซ้าในการกระทำผิดครั้งเดียวกัน สำหรับการแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจน ว่าจะต้องดำเนินการทางวินัยกับข้าราชการพลเรือนสามัญฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการอันมีสาเหตุจากการกระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่อย่างไรนั้น คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติกำหนดแนวในเรื่องดังกล่าวให้ส่วนราชการถือปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 255
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/389
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons