กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3902
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนและมาตรการทางกฎหมาย : ศึกษากรณีพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public participation and legal process: a case study of the promotion of marine and coastal resources management act, B.E. 2558 (2015 A.D.)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สราวุธ ปิติยาศักดิ์
บุษรา วาทีรักษ์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558
ทรัพยากรทะเล--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การจัดการเขตชายฝั่ง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความเป็นมาแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางทะเล ศึกษาถึงสภาพปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการทรัพยากรทาง ทะเล ศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรการเกี่ยวกับกฎมายต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ และศึกษาถึงแนวทางแก้ไข เพิ่มเติม ในการเสนอแนะแก้ไขกฎหมายที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล : พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาและค้นคว้าแบบวิจัยเอกสาร โดยเน้นวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้เขียนได้ทำการศึกษา ค้นคว้า และเก็บรวบรวมข้อมูลจากตำรากฎหมาย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ งานวิจัย หนังสือ เอกสารทางวิชาการ บทความ และข้อมูลจากเว็บไซต์ ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา สรุปและหาข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาประมวลผล และวิเคราะห์ หาวิธีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผลการศึกษา พบว่าหลังจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้บังคับใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พุทธศักราช 2558 แล้ว ยังมีปัญหา ทางกฎหมายอยู่บางประการ อย่างเช่น การที่พระราชบัญญัติไม่กำหนดจำนวนขั้นตํ่าของผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติไว้ ทำให้เกิดปัญหาในการประชุม เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ (มาตรา 5 ) อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ยังไม่สมบูรณ์ (มาตรา 24) เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยมีความเห็นว่ายังบกพร่อง หากมีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อบกพร่องเหล่านั้น ส่งผลต่อการบริหารจัดการทรัพยากรในเชิงนโยบายและทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยังผลให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเกิดความสมบูรณ์ มั่งคั่ง และยั่งยืนสืบไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3902
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons