กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3910
ชื่อเรื่อง: | การวัดประสิทธิภาพการผลิตข้าวหอมมะลิของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด จังหวัดมหาสารคาม ปีการเพาะปลูก 2556/2557 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Efficiency measurement of Hom Mali rice production of Borabue Agricultural Cooperatives Ltd. members in Mahasarakham Province of 2014/2015 Crop Year |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ สมใจ วิจารณ์จักร, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้าวหอมมะลิ--การผลิต--ไทย--มหาสารคาม |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกัด ในเรื่อง 1) สภาพทั่วไปของสมาชิกสหกรณ์ผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ 2) วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตข้าวหอมมะลิของสมาชิกสหกรณ์ 3) วิเคราะห์ประสิทธิภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิของสมาชิกสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรบรบือ จำกดั จังหว้ดมหาสารคาม สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกสมาชิกสหกรณ์ในตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ โดยสุ่มแบบเจาะจง สมาชิกสหกรณ์ในฐานะผู้ผลิต จำนวน 40 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยของข้อมูล และกากระจายข้อ มูล และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิค โดยประมาณการฟังก์ชั่น การผลิตแบบ Cobb-Douglas Production Function แล้วใช้วิธีการวัดประสิทธิภาพการผลิตโดยอาศัยแบบจำลอง Stochastic Forntier Production ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 61 ปีจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่สมาชิกสหกรณ์ จะเป็นเจัา ของและมีส่วนน้อยที่เช่าทำนา 2) ต้น ทุนและผลตอบแทนจากการผลิต ข้าวหอมมะลิ มีต้นทุนการผลิต 1,744.87 บาท/ไร่ ผลตอบแทน 3,038.60 บาท/ไร่ ผลตอบแทนสุทธิ จำนวน 1,293.73 บาท/ไร่ ผลผลิตที่สมาชิกสหกรณ์สามารถผลิตได้อยู่ระหว่าง 201 – 300 กิโลกรัม/ไร่ 3) ประสิทธิ ภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิโดยเฉลี่ยในแต่ละรายจะมีระดับ อยู่ที่ 1.0080 แสดงให้เห็นว่า สมาชิกสหกรณ์มีประสิทธิภาพการผลิตปานกลาง ค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัย การผลิตทุกตัว มีค่าเท่ากับ 1.0798 ชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนต่อขนาดการผลิตเพิ่มขึ้น ควรมีการส่งเสริมและเผยแพร่ให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ใช้เป็นแนวทางในการผลิตขัาวที่ได้คุณภาพและมีประสิทธิภาพในการผลิตข้าวหอมมะลิ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3910 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_148492.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License