Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3918
Title: การใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการจัดเก็บภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
Other Titles: Discretion of competent officials in tax collection under the Signboard Tax Act, B.E. 2510
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปาริชาติ เต็มยงค์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
การจัดเก็บภาษี--ไทย
การจัดเก็บภาษี--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการการจัดเก็บภาษีป้าย ตามกฎหมายภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ศึกษาความเป็นมาแนวคิดพื้นฐาน หลักการ ทฤษฎีทางกฎหมายและกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังศึกษาสภาพปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการจัดเก็บภาษีป้าย ตลอดจนได้เสนอแนะแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ที่เหมาะสมกับประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทาการศึกษารวบรวมข้อมูลจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ หนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ งานวิจัย เอกสารประกอบการสัมมนา ตลอดจนคาพิพากษาและคาสั่งศาลฎีกา อีกทั้งกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับ มาตรการเกี่ยวกับการติดตั้งและจัดเก็บภาษีป้ายและค่าธรรมเนียมป้าย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายภาษีป้าย สามประการ ได้แก่ ประการแรกปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติความหมายของคาว่า “ป้าย” ต้องใช้ดุลพินิจเพิ่มมากขึ้นในการตีความคำว่า “ป้าย” เพื่อเป็นการลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน ผู้ศึกษาจึงเสนอให้เพิ่มเติมความหมายคำว่า “ป้าย” เป็นวัตถุซึ่งใช้ในการโฆษณา เพิ่มเข้าไปในบทบัญญัติเดิม ซึ่งจะทำให้ความหมายคำว่า “ป้าย” ชัดเจนและครอบคลุมสื่อโฆษณาที่มีความหลากหลายในปัจจุบัน ปัญหาที่สองเป็นปัญหาการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการตีความประเภทป้ายเนื่องจากอัตราค่าภาษีป้ายขึ้นอยู่กับป้ายแต่ละประเภท และอัตราภาษีป้ายทั้ง 3 ประเภท แตกต่างกันมาก หากเจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจการแยกประเภทป้ายผิดพลาดหรือไม่ถูกต้อง จะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีป้ายเกิดความคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ผู้เสนอจึงเสนอแนวทางการลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน โดยเปลี่ยนการจัดเก็บภาษีป้ายจากจัดเก็บตามประเภทป้าย เป็นจัดเก็บตามขนาดป้าย ซึ่งจะใช้ขนาดของป้ายในการกำหนดอัตราค่าภาษีป้าย ประการสุดท้ายการพัฒนาทักษะและการส่งเสริมให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ นำมาซึ่งรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น การคลังท้องถิ่นที่มีเสถียรภาพจะนำมาซึ่งงบประมาณที่มากเพียงพอในการบริหารงานและการให้บริการสาธารณะ ซึ่งจะทำให้การกระจายอำนาจภายใต้กรอบกฎหมาย กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจบรรลุวัตถุประสงค์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3918
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.99 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons