กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3921
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems concerning the proceedings of a non-gross disciplinary breach carrying out by the Teachers and the Educational Personnel
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ผดุงศักดิ์ ทองโพธิ์ศรี, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการครู--วินัย
บุคลากรทางการศึกษา--วินัย
วินัย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทย และการดำเนินการทางวินัยข้าราชการของต่างประเทศ ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องและมาตรการเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยข้าราชการในประเทศไทย และต่างประเทศ ศึกษาถึงปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม บทบัญญัติกฎหมายเพื่อใช้เป็นมาตรการทางกฎหมายในการดำเนินการทางวินัยไม่ร้ายแรงของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 ให้มีความเป็นธรรมและเหมาะสมตามหลักสิทธิขั้นฐาน การศึกษาค้นคว้าเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาวิจัยเอกสาร โดยศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนวินัยข้าราชการ เช่น วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ ตำราทั้งในประเทศและนอกประเทศ รวมทั้งเอกสารอื่นที่เป็นประโยชน์และทำการศึกษาพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 เพื่อเปรียบเทียบกับหลักการสอบสวนวินัยข้าราชการของต่างประเทศและนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และกฎ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสอบสวนพิจารณา พ.ศ. 2550 กับหลักการสอบสวนวินัยข้าราชการของต่างประเทศมีความสอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ แต่มีความแตกต่างเป็นส่วนน้อยโดยเฉพาะปัญหาสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าร่วม รับฟังในการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง และคุณสมบัติการคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรง ทั้งนี้จะได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3921
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons