กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/392
ชื่อเรื่อง: เกณฑ์การวินิจฉัยเขตอำนาจศาลของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criteria for determining court jurisdiction of the Adjudication Committee for powers and duties among courts in public land disputes
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาณินี กิจพ่อค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฤทัย หงส์สิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จตุภรณ์ แก้วคุ้มภัย พัฒนสิทธิชีวิน, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
เขตอำนาจศาล -- ไทย
ที่ดินสาธารณะ -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยเขตอำนาจศาลของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎี รวมทั้งลักษณะแห่งสิทธิและอำนาจรัฐในที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (2) ศึกษาเกณฑ์การวินิจฉัย เขตอำนาจศาลระหว่างศาลปกครองกับศาลยุติธรรม (3) ศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ การวินิจฉัยเขตอำนาจศาลของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล (4) หาหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องในการวินิจฉัยเขตอำนาจ ศาลและ (5) ศึกษาว่าคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยมุ่งศึกษาเกณฑ์ที่คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลใช้ในการวินิจฉัยเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมทั้งปัญหาและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการวินิจฉัยเขต อํานาจศาลในคดีดังกล่าว การศึกษาพบว่า ปัจจุบันคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลใช้เกณฑ์ สิทธิในที่ดินในการวินิจฉัยว่าคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาล ยุติธรรม ทั้งๆ ที่การโต้แย้งสิทธิในที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินระหว่างรัฐกับเอกชนไม่ใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อีกทั้งสาธารณสมบัติของแผ่นดินแม่จะบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน แต่โดยเนื้อหาเป็นเรื่องของกฎหมายมหาชน ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกำหนดห้ามศาลปกครองนำ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดี ซึ่งในบางกรณีศาลปกครองก็ได้นําหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ในการวินิจฉัยคดีอยู่แล้ว ประกอบกับวิธีพิจารณาของศาลปกครองใช้ระบบไต่่สวนที่เป็นวิธีพิจารณาที่เหมาะสมกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะมากกว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินจึงควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง และเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เป็น “ (6) คดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง”
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/392
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib138794.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons