กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3947
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการพัฒนา ตามแนวทางคุณธรรมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐ กับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหในจังหวัดอ่างทอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The comparison of people participation in development administration between the Ban Hae and Ban-it Subdistrict Administrative Organizations in Angthong Province according to the morality guideline
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไลวรรณ สนธิเทศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐ--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแห--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการพัฒนาตามแนวทาง คุณธรรมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแห ในจังหวัดอ่างทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ (1) การมีส่วนร่วมของประชาชน (2) ปัญหา (3) แนวทางการพัฒนา และ (4) ภาพรวมแนวโน้มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการพัฒนาตามแนวทางคุณธรรมระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแห ในจังหวัดอ่างทอง โดยนำการบริหารการ พัฒนาตามแนวทางคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่ การรักษาความสัจ การรู้จักข่มใจตนเอง ความอดทน การละความชั่ว การเสืยสละ ความเมตตา ความสามัคคี ความสุจริต ความเที่ยงธรรม และการส่งเสริมคนดีมาเป็น กรอบแนวคิดในการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการทดสอบ รวมทั้งผ่านการ ทดสอบหาความเที่ยงตรง และความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.84 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนใน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านอิฐและองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแห มีจำนวน 1,067 คน การเก็บรวบรวม ข้อมูลสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ถึง วันที่ 15 กันยายน 2550 เก็บแบบสอบถามกลับคืนมา จำนวน 915 คน คิดเป็นร้อยละ 85.75 ของแบบสอบถานที่แจกออกไปทั้งหมด (1,067 คน) สำหรับสถิตที่ใช้ คือ รัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฎว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับปานกลาง ว่า (1) ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการบริหารการพัฒนาตามแนวทางคุณธรรมในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 2 แห่ง และ (2) ในภาพรวมการมี ส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการพัฒนาตามแนวทางคุณธรรมในองค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 2 แห่ง ในอนาคตมีแนวโน้มสูงกว่าในปัจจุบัน สำหรับปัญหาที่สำคัญขององค์การบริหารส่วนทั้ง 2 แห่ง คือ การไม่ได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบพนักงานส่วนตำบลเรื่องการยึดมั่นในกฎกติกาและระเบียบแบบแผน ส่วนแนวทางการพัฒนาที่สำคัญ คือ องค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 2 แห่ง ควรพัฒนาหรือฝึกอบรมผู้บริหารทุกระดับ ในเรื่องการมีจิตใจหรือจิตสำนึกที่สนับสนุนการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การบริหารการพัฒนาตามแนวทางคุณธรรม รวมทั้งควรสนับสนุนให้หน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน รวมทั้งประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบผู้บริหารทุกระดับอย่างต่อเนื่องด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3947
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105448.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons