กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/401
ชื่อเรื่อง: การก่อกำเนิดและการดำเนินการอยู่ของพรรคเพื่อฟ้าดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The formation and the existence of the Heaven and Earth Party
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค, อาจารย์ที่ปรึกษา
สงกรานต์ จอมศรี, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พรรคเพื่อฟ้าดิน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัจจัยการก่อกำเนิดพรรคเพื่อฟ้าดินและ 2. รูปแบบการดำเนินการของพรรคเพื่อฟ้าดิน การศึกษาวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใชัในการวิจัย 5 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ร่วมริเริ่มก่อตั้งพรรค 2.คณะกรรมการบริหารพรรค 3.คณะกรรมการสาขาพรรค 4.ที่ปรึกษาพรรคและ 5.สมาชิกและคนทั่วไป รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 29 คน โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่าง นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิชัยพบว่า (1) ปัจจัยการก่อตั้งพรรคเพื่อฟ้าดิน เกิดจากกลุ่มคนที่มีแนวคิดคล้ายกัน และกฎหมายให้สิทธิในการจัดตั้งพรรคการเมือง เมื่อสมณะ โพริรักษ์ ผู้นำสันติอโศกและชาวอโศก ได้ตก ลงใจรับพรรคสหกรณ์มาดำเนินการจากกลุ่ม ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน ซึ่งกลุ่มญาดิธรรมและผู้มาปฏิบัติ ธรรมกับสันติอโศกเข้าร่วมตกลงใจชัดตั้งพรรคและเป็นสมาชิกพรรค เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเพื่อฟ้าดิน โครงสร้างพรรคเป็นไปตามกฎหมาย โดยกำหนดหลักการไร้ว่าผู้ที่จะเป็นสมาชิกพรรค จะต้องมีความ ตั้งใจที่จะลดละอบายมุข อุทิศทำงานเพื่อสังคมโดยไม่รับค่าตอบแทน มุ่งสร้างคนให้มีคุณธรรมเป็น รากฐานตามแนวดิดบุญนิยมซึ่งเป็นนโยบายหลักของพรรค (2) รูปแบบการดำเนินการของพรรคเพื่อฟ้า ดินนั้นมีการดำเนินการตามขั้นตอนของการจัดตั้งพรรคการเมืองตามกฎหมาย และกำหนดโครงสร้างของ พรรคตามกรอบกฎหมายเช่นเดียวกัน มีการจัดองค์กรพรรคและระบบกลไกการทำงานของพรรค มี ลักษณะดำเนินการในรูปแบบการเมืองควบคู่กับกิจกรรมของชุมชนชาวอโศกซึ่งมีความสัมพันธ์กับระบบ บุญนิยม กิจกรรมของพรรคและสาขาพรรคจะดำเนินควบคู่ไปกับกิจกรรมทางด้านการเกษตร เศรษฐกิจ ชุมชนของชุมชนชาวอโศก ไม่เน้นการโฆษณาหรือหาเสียงในการเลือกตั้ง และไม่มุ่งเน้นปริมาณจำนวน คนที่จะเข้าเป็นสมาชิกพรรค แต่จะคำนึงถึงผู้ที่จะเข้าร่วมทางการเมืองของพรรคที่มีคุณธรรม มีความเต็ม ใจ เข้าใจ ทำการคุนเคยและเรียนรู้ระเบียบธรรมเบียมของพรรค และมีการดำเนินการเลือกคณะกรรมการ บริหารพรรคเพื่อให้ทำหน้าที่บริหารดำเนินการกิจกรรมต่างๆของพรรคให้เป็นไปตามเป้าหมายหรือ ยุทธศาสตร์ที่พรรคได้วางแนวทางไร้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/401
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140613.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons