กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4033
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E เรื่องการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎิ์ จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of the 7E inquiry learning activities management in the topic of reproduction of living organisms on scientific concepts of Prathom Suksa V Students at Wat Prasat Rungsarit School in Prachin Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฬารัตน์ ธรรมประทีป
นิศากร บริบูรณ์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การสืบพันธุ์
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบมโนมติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎ์ จังหวัดปราจีนบุรี ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ 7E เรื่องการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัด ประสาทรังสฤษฎ์ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบ เจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้แบบ 7E เรื่องการ สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แบบวัดมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่าความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดประสาทรังสฤษฎ์อยู่ในระดับที่คลาดเคลื่อน โดยพบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความเข้าใจมโนมติ ทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่คลาดเคลื่อนทุกมโนมติ (ร้อยละ 5.56-33.33) หลังเรียนพบว่านักเรียนมีความ เข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่คลาดเคลื่อน 1 มโนมติ คือ มโนมติ เรื่องขั้นตอนการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัฏจักรชีวิตของแมลง (ร้อยละ 5.56) โดยความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนในระดับที่สมบูรณ์ พบว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่ สมบูรณ์ 7 มโนมติ (ร้อยละ 5.56) ได้แก่ เรื่องหน้าที่และส่วนประกอบของดอก เรื่องการถ่ายละอองเรณู เรื่องการปฏิสนธิ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของดอกหลังการปฏิสนธิ เรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เรื่องการ สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และเรื่องการนำความรู้เรื่องวัฏจักรชีวิตของแมลงไปใช้ประโยชน์ หลังเรียน พบว่านักเรียนมีความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สมบูรณ์ มากกว่าร้อยละ 50.00 จำนวน 3 มโนมติ ได้แก่ เรื่องส่วนประกอบของเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย (ร้อยละ 55.56เรื่องการขยายพันธุ์พืช (ร้อย ละ 61.11) และเรื่องการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (ร้อยละ 55.56)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4033
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_143881.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons