Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4043
Title: ผลการสอนแบบสตอรีไลน์เรื่อง รักสุพรรณบุรีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดใหม่อัมพวัน จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: The effects of the storyline teaching method in the topic of love Suphan Buri on social studies learning achievement of Phathom Suksa IV Students at Tessaban 3 Wat Mai Amphawan School in Suphan Buri Province
Authors: สุมนทิพย์ บุญสมบัติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพียงใจ ศรีสุขา, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--สังคมศึกษา
การสอนแบบสตอรี่ไลน์
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง เรียน เรื่อง รักสุพรรณบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยวิธีสตอรีไลน์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 คน ใน 1 ห้องเรียนของ โรงเรียนเทศบาล 3 วัดใหม่อัมพวัน จังหวัดสุพรรณบุรี ในปีการศึกษา 2556 ที่ได้จากการสุ่มแบบ กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้สำหรับการสอนโดยวิธีสอน แบบสตอรีไลน์ เรื่อง รักสุพรรณบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 แผน รวม 12 ชั่วโมง และ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องรักสุพรรณบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เรื่อง รักสุพรรณบุรี ของนักเรียนที่ ได้รับการสอนโดยวิธีสอนแบบสตอรีไลน์ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4043
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_143378.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons