Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/405
Title: ความคิดเห็นของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ
Authors: สมศักดิ์ บุตราช, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ เชิดชูพงศ์ล้ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา ธนวิบูลย์ชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัศมี พันธุลาภ, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
นักวิชาการสาธารณสุข
การทำงาน
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) จำแนกระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ ตามความคิดเห็นของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบล (2) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ประสบการณ์การทํางาน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ นักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบล และ (3) จําแนกความสัมพันธ์ระหว่างระบบการปฎิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ กับลักษณะส่วนบุคคล ประสบการณ์การทำงาน และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานการศึกษาใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา และทําการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากประชากรนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลใน 12 เขตการสาธารณสุข ทําการเก็บข้อมูลจากตัวอย่าง โดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และมีจํานวนตัวอย่างที่ตอบกลับมาทั้งสิ้น 219 คน ทําการวิเคราะห์ข้อมูลแบบแบ่งช่วงของตัวแปรต้นและตัวแปรตามเป็นค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปรับค่าตัวแปรที่ศึกษาเป็นข้อมูลแบบแบ่งพวกเพื่อจำแนกตามรายการย่อย ทําการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลทั้ง 6 ด้าน โดยภาพรวม จำแนกอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งมีด้านการสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง และด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ส่วนใหญ่ของตัวอย่างมีอายุระหว่าง 30-39 ปี มีสถานภาพสมรส ตัวอย่างเกือบทั้งหมด วุฒิการศึกษาปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ประมาณครึ่งหนึ่งมีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ส่วนใหญ่ของตัวอย่างมีอายุราชการระหว่าง 10-20 ปี เคยทํางานในตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนและเจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุขมาก่อน และเคยได้รับการศึกษาดูงานและอบรมด้านวิชาการ ประมาณ 2 ใน 3 ของตัวอย่างปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบันมานาน 5-9 ปี ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมของทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับสูง (3) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระหว่างระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการของนักวิชาการสาธารณสุขโดยภาพรวมทุกด้านกับระดับการศึกษา ตำแหน่งเดิมก่อนตำแหน่งปัจจุบัน และแรงจูงใจในองค์ประกอบของความสําเร็จและการยอมรับนับถือ โอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน สภาพและลักษณะงาน ด้านการวางแผนและประเมินผลกับตำแหน่งเดิมก่อนตำแหน่งปัจจุบัน แรงจูงใจในองค์ประกอบของรายได้และประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ ความสําเร็จและการยอมรับนับถือ โอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานโดยรวม: ด้านการศึกษาวิเคราะห์วิจัยกับระดับการศึกษา สถานภาพสมรส, ด้านการนิเทศงานกับระดับการศึกษา ตำแหน่งเดิมก่อนตำแหน่งปัจจุบัน และแรงจูงใจในองค์ประกอบของสภาพและลักษณะงาน ความสำเร็จและการยอมรับนับถือ โอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานโดยรวม: ด้านการฝึกอบรมประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยรวม: ด้านการสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาคุณภาพชีวิต กับระดับการศึกษา ตำแหน่งเดิมก่อนตำแหน่งปัจจุบัน ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งปัจจุบัน และแรงจูงใจในองค์ประกอบของสภาพและลักษณะงาน ความสําเร็จและการยอมรับนับถือ การปฏิบัติงาน โดยรวม: ด้านการประสานงานกับอายุ อายุราชการและแรงจูงใจในองค์ประกอบของความสําเร็จและการยอมรับนับถือ โอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานโดยรวมคำสําคัญ ความคิดเห็น ระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ นักวิชาการสาธารณสุข งานตามบทบาทหน้าที่
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/405
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
76818.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons