กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4075
ชื่อเรื่อง: | การบังคับใช้กฎหมาย และการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการโบราณสถาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Law enforcement and the public participation in the management of ancient monuments |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ เพียรทอง ธนายศสกุล, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การบังคับใช้กฎหมาย กฎหมาย--ไทย--การมีส่วนร่วมของประชาชน โบราณสถาน--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ โบราณสถาน--การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฏี และกฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุของประเทศไทย และต่างประเทศ รวมถึงศึกษาอำนาจหน้าที่ภารกิจของหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคประชาชน และส่วนท้องถิ่นในการอนุรักษ์โบราณสถานโบราณวัตถุในประเทศไทย รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการโบราณสถาน วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการอนุรักษ์โบราณสถานของประเทศไทย และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการโบราณสถาน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าตัวบทกฎหมาย เอกสาร บทความ หนังสือตำราวิชาการต่าง ๆ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเว๊บไซด์ต่าง ๆ คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลมาทำการศึกษา วิเคราะห์และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งกระทรวงวัฒนธรรมที่ 157/2547 ซึ่งได้กำหนดอานาจหน้าที่ ภารกิจ ในการบังคับใช้กฎหมายหลายหน่วยงาน ส่งผลทำให้เกิดปัญหาการทับซ้อนของการใช้อำนาจตามกฎหมาย อีกทั้งยังพบว่าพระราชบัญญัติดังกล่าว มิได้มีการกำหนดบทบัญญัติในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ เพียงแต่ในเนื้อหาของกฎหมายมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานเท่านั้น ซึ่งเป็นการไม่สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักกฎหมายสูงสุดของประเทศ และกฎหมายดังกล่าวยังเป็นกฎหมายที่ล้ำสมัย และไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผู้ศึกษาจึงเสนอให้เห็นถึงแนวทางการบังคับใช้กฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอิตาลี ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการบริหารจัดการโบราณสถาน ซึ่งหากมีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวนั้น จะทำให้เกิดการอนุรักษ์ คุ้มครอง ปกป้อง และฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมได้อย่างแท้จริง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4075 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License