Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/408
Title: แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
Other Titles: Political concepts on Buddhist approach of M.R. Kukrit Pramoj
Authors: ยุทธพร อิสรชัย
สมหมาย จันทร์เรือง, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., 2454-2538 -- ทัศนะเกี่ยวกับการเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
พุทธศาสนากับการเมือง
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาเจาะจง จำนวน 14 คน และกระบวนการสนทนากลุ่มจาก ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน5คนนำมารวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกถุทธิ์ ปราโมช คือการ ปกครองที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาในการปกครอง ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และ จักรวรรดิวัตร ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการเมืองการปกครองไทยในปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่ง ทศพิธราชธรรม ได้นำมาประยุกต์กับการบริหารองค์การภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง สำหรับการปกครองของประเทศไทยด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขสอดคล้องกับหลักธรรมราชาหรือราชาธิปไตย ที่ผู้นำการปกครองต้องกอปรด้วย คุณธรรม จริยธรรมตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยความซื่อสัตย์’สุจริต และความกล้าหาญเป็น คุณสมบัติที่สังคมไทยต้องการมากที่สุด นอกจาก ม.ร.ว. คึกถุทธิ์ปราโมช ได้นำเสนอแนวคิด ทางการเมืองแนวพุทธผ่านทางนวนิยายและบทความในหนังสือพิมพ์แล้ว ยังได้แสดงบทบาท ดำรงตนและดำรงความเป็นผู้นำทางการเมืองตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา อันถือเป็นแบบอย่าง ที่ดีให้กับนักการเมืองและการบริหารบ้านเมืองไทยในทุกยุคทุกสมัย
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/408
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
142789.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons