กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4122
ชื่อเรื่อง: การใช้แบบจำลองโลจิทศึกษาปัจจัยการก่อหนี้เสียของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความแห่งประเทศไทย จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Using the logit model to study of bad debt for Lawyers of Thailand Saving Co-Operatives Ltd.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา ภูริพันธ์ุภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยงยศ กาญจนาโรจน์พันธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
สหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความแห่งประเทศไทย จำกัด
หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาและสร้างแบบจำลองโลจิท เพื่อ ทำนายการเกิดหนี้เสียของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ (2) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ และปัจจัยส่วนบุคคลที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อความเป็นไปได้ในการเกิดหนี้เสียในเงินกู้ประเภทสามัญ และ เงินกู้ฉุกเฉิน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่กำหนดความเป็นไป ได้ในการเกิดหนี้เสียระหว่างเงินกู้ประเภทสามัญ และเงินกู้ประเภทฉุกเฉินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ทนายความฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ ชึ่งมีจำนวน ประมาณ 1,315 คน สำหรับเครึ่องมือที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการเก็บข้อมูลทุติยภูมิ แล้วนำมาศึกษาปัจจัยที่กำหนดความน่าจะเป็นที่สมาชิกจะก่อให้เกิดหนี้เสียด้วยแบบจำลองโลจิท ผลการวิจัยพบว่า (1) ความน่าจะเป็นในการเกิดหนี้เสียของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ทนายความฯ ในส่วนของเงินกู้ประเภทสามัญ ตัวแปรที่ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความน่าจะเป็นใน การเกิดหนี้เสียในเงินกู้สามัญได้ถึง 25.95 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 99 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นในการเกิดหนี้เสียในเงินกู้ประเภทสามัญ คือ จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้จำนวน เงินที่ผ่อนชำระ ระยะเวลาการผ่อนชำระ ทุนเรือนหุ้น เพศ สถานที่อยู่ปัจจุบัน และสถานการณ์การทำงาน (2) ความน่าจะเป็นในการเกิดหนี้เสียของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความฯ ในส่วนของเงินกู้ ประเภทฉุกเฉิน ตัวแปรที่ศึกษาสามารถร่วมกันอธิบายความน่าจะเป็นในการเกิดหนี้เสียในเงินกู้ประเภท ฉุกเฉินได้ถึง 23.33 เปอร์เซ็นต์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 99 เปอร์เซ็นต์ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ น่าจะเป็นในการเกิดหนี้เสียในเงินกู้ประเภทฉุกเฉิน ประกอบด้วย ทุนเรือนหุ้น สถานภาพ จำนวนบุตรผู้กู้ สถานที่อยู่ปัจจุบัน เพศ สถานการณ์การทำงาน และอาชีพคู่สมรส
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4122
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
105623.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons