กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4146
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องสมบัติของสารและการจำแนกสารโดยใช้วิธีทำนาย-สังเกต-อธิบาย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุเหร่าแคราย จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of science learning activities in the topic of properties and classification of substances using the predict-observe-explain method on learning actievement of Prathom Suksa VI students at Surao Khaerai School in Cha Choeng Sao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน พินสุวรรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนวิไล โมมินทร์, 2500-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์--กิจกรรมการเรียนการสอน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ฉะเชิงเทรา
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีทำนาย สังเกต-อธิบาย และ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีทำนาย-สังเกต-อธิบาย กับเกณฑ์ ร้อยละ 70 ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสุเหร่าแคราย จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของสารและการจำแนกสาร โดยใช้วิธี ทํานาย-สังเกต-อธิบายแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนซึ่งมีค่า ความเที่ยง เท่ากับ .95 และ 94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีทำนาย-สังเกต-อธิบาย สูงกว่าก่อนจัด กิจกรรมการเรียนรู้ และ (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 หลัง กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีทำนาย-สังเกต-อธิบาย เท่ากับร้อยละ 74.76 ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4146
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_138630.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons