Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/415
Title: | บทบาทของกำนันและผู้ใหญ่บ้านทีเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นในพื้นทีองค์การบริหารส่วนตำบล; กรณีศึกษาอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี |
Other Titles: | The role of Kamman and Village Headmen in enhancing local democracy in the area of a Tambon administrative organization: a case study of Prachantakam District, Prachinbury Province |
Authors: | วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ ณรินทร์ งามวงษ์, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น -- วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ประชาธิปไตย -- ไทย -- ปราจีนบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- ปราจีนบุรี องค์การบริหารส่วนตำบล -- การมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาธิปไตย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพของบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้าน กับการ เสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (2) ปัญหาหรืออุปสรรคของบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับการเสริมสรัางประชาธิปไตยท้องถิ่นในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล (3) บทบาทที่เหมาะสมของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวิธีดำเนินการวิจัย ใข้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง รวม 13 คน ได้แก่ นายอำเภอ 1 คน ปลัดอำเภอประจำตำบล 1 คน ท้องถิ่นอำเภอ 1 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน กำนัน 3 คน ผู้ใหญ่บ้าน 3 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 2 คน เครื่องมือที่ใชัคือ แบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เป็นแบบเจาะลึกและเผชิญหน้าพร้อมกับสังเกตการณ์กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งศึกษาจากเอกสาร ผลงานวิจัยและแนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาวิเคราะห์ โดยใข้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพของบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ 1.1) ด้านการปกครองราษฎรเมื่อเกิดปัญหาเน้นปรึกษาหารือในคณะกรรมการหมู่บ้าน 1.2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นแกนหลัก มี อบต.สนับสนุน โดยใข้กระบวนการหารือแบบประชาธิปไตย เป็นการร่วมมือกันในลักษณะร่วมกันหางานและร่วมกันรับผิดชอบ 1.3) ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง นำพาราษฎรร่วมรณรงค์การเลือกตั้ง และในวันเลือกทั้งกระตุ้นให้ราษฎรออกมาใข้สิทธิลงคะแนนให้มากที่สุด (2) ปัญหาหรืออุปสรรคของบทบาทกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ 2.1) ด้านการปกครองราษฎร การแบ่งปันงบประมาณและกองทุน เน้นที่เครือญาติหรือพวกพ้อง 2.2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย การหาอุปกรณ์เครื่องใชัและยุทธปัจจัยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากอบต.เนื่องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่มีงบประมาณ 2.3) ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ถูกระแวงเรื่องความไม่เป็นกลาง การฟักใฝ่พรรคการเมือง และการเป็นหัวคะแนน (3) บทบาทที่เหมาะสมของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ 3.1) ด้านการปกครองราษฎร ควรมีความเป็น กลางอย่างแท้จริงและให้ความยุติธรรมแก่ราษฎรอย่างเท่าเทียม 3.2) ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย ควรให้ความสนใจกับทุกกลุ่มในพื้นที่ แล้วดึงเข้ามาร่วมเป็นภาคีเครือข่ายให้มากที่สุด เพื่อมาช่วยกันดูแลงานด้านนี้ 3.3) ด้านส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านควรเปิดโลกทัศน์ประชาธิปไตย โดยใบ้โอกาสราษฎรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากยิ่งขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/415 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
141046.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License