กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4159
ชื่อเรื่อง: | หลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Application of ne ultra petita doctrine to the Administrative Cases Concerning Environment |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริพันธ์ พลรบ มนตรี วงศ์สว่างศิริ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี กฎหมายสิ่งแวดล้อม วิธีพิจารณาคดีปกครอง--ไทย |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง หลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี ของไทยและของต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักกฎหมายและแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองไทยกับศาลในคดีแพ่งของไทยและศาลต่างประเทศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางการกำหนดคำบังคับของศาลปกครองไทยที่เกี่ยวกับหลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารจากเอกสาร บทความทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ ข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แนวคำวินิจฉัยของศาลไทยและศาลต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับหลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาพบว่า ศาลปกครองไทยได้นำหลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอมาปรับใช้แก่คดีปกครองในฐานะหลักกฎหมายทั่วไป โดยในคดีปกครองทั่วไปได้นำมาใช้ในคดีอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับศาลในคดีแพ่งของไทย ส่วนในคดีสิ่งแวดล้อมที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประโยชน์สาธารณะนั้นได้นำมาใช้ในคดีอย่างผ่อนคลายเช่นเดียวกับศาลปกครองเยอรมัน และการที่มิได้มีการบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน ก็อาจมีผลทำให้แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองไทยมีคำพิพากษาที่แตกต่างกัน และหากศาลยึดหลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขออย่างเคร่งครัดก็จะทำให้ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง อีกทั้งการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะโดยใช้วิธีการระบุข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตาม คำพิพากษาของศาลปกครองไทยซึ่งมิใช่คำบังคับนั้น มิได้มีผลเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะในทางปฏิบัติแต่อย่างใด ผู้ศึกษาจะเห็นว่าควรที่จะบัญญัติกฎหมายปกครองของไทยที่เกี่ยวกับ หลักห้ามศาลพิพากษาเกินคำขอในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4159 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.59 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License