Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4163
Title: การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
Other Titles: Removal of a person holding a oolitical position from office
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม
มณีรัตน์ เพ็งไชโย, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การถอดถอนจากตำแหน่ง
นักการเมือง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การค้นคว้าอิสระ เรื่อง การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงทางการเมือง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบกับกระบวนการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และสภาพปัญหาองค์กรผู้ทำหน้าที่ในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงข้อสรุปที่เป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบองค์กรผู้ทำหน้าที่ในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประเทศไทยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสาร โดยเป็นการศึกษาจากตำราทางวิชาการในทางกฎหมายมหาชน การเมืองการปกครองเป็นหลัก โดยวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ข้อมูลจากเว็บไซต์ ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ประกอบกับข้อมูลที่ผู้วิจัยได้รับจากประสบการณ์ตรงในการทำงานมาประกอบเป็นหลักฐานในการอ้างอิงมาวิเคราะห์ศึกษาเปรียบเทียบกับแนวคิดของต่างประเทศเพื่อให้ทราบถึงผลสรุปของการวิจัยและแนวทางการปรับปรุงปัญหาเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้ศึกษามั่นใจว่าข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าเป็นข้อมูลที่แท้จริงและถูกต้องน่าเชื่อถือได้ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่นำไปสู่ความล้มเหลวในการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในกระบวนการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งที่ไม่สามารถถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ ทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลการ ระหว่างด้วยกันเองได้ รวมถึงไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษหรือขับออกจากตำแหน่งได้ โดยมาจากปัญหาหลัก คือ “การกำหนดองค์กรและกระบวนการ การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” ดังนั้น เพื่อให้การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งของประเทศไทยสามารถที่จะควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจของบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญที่อยู่ ในฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบและกระบวนการที่ชัดเจน ผู้ศึกษาเสนอแนะแนวทางให้มีการปรับปรุงองค์กรผู้ทำหน้าที่ในการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งขึ้นใหม่โดยใช้รูปแบบ “ศาลพิเศษ” เรียกว่า “ศาลอาญาแห่งรัฐสภา” และการลงมติในการถอดถอนบุคคลให้ใช้คะแนนเสียงกึ่งหนึ่งขึ้นไปขององค์คณะตุลาการ หรือให้มีการรวมอำนาจการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไว้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งเป็นมาตรการที่สำคัญที่ทำให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ตระหนักทุกครั้งที่ใช้อำนาจรัฐในการปฏิบัติหน้าที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4163
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.03 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons