กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4176
ชื่อเรื่อง: | ความเหลื่อมซ้อนในการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนต่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Overlap in reporting the disciplinary proceedings and the appeal of the disciplinary punishment order of the Civil Service to the Merit System Protection Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สิริพันธ์ พลรบ ไมตรี ขุนทอง, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ข้าราชการพลเรือน--ไทย--วินัย อุทธรณ์--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายของต่างประเทศเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไปยังองค์กรภายในฝ่ายปกครอง (2) ศึกษากฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 เกี่ยวกับการรายงานการดำเนินการทางวินัยไปยังคณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวง (อ.ก.พ. กระทรวง) และการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) (3) ศึกษาความเหลื่อมซ้อนในการรายงานการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการพลเรือนและการอุทธรณ์ คำสั่งลงโทษทางวินัยไปยัง ก.พ.ค. (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการรายงานการดำเนินการทางวินัยและการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไปยัง ก.พ.ค. ให้มีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดและหลักกฎหมายของต่างประเทศ กำหนดให้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไปยังองค์กรภายในฝ่ายปกครอง เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง อันเป็นหลักกฎหมายที่ใช้ในการพัฒนากฎหมายปกครองตามระบบกฎหมายซีวิลลอว์ ดังเช่นประเทศฝรั่งเศส (2) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้บังคับบัญชารายงานการดำเนินการทางวินัยไปยัง อ.ก.พ. กระทรวง แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายก็ได้ให้สิทธิผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยัง ก.พ.ค.เพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง (3) อ.ก.พ. กระทรวง ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชามีอำนาจพิจารณาการดำเนินการทางวินัยของผู้บังคับบัญชาโดยอาจมีมติหรือดำเนินการในทางใดตามควรแก่กรณีได้ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องสั่งหรือปฏิบัติให้เป็น ไปตามที่มีมติ แต่ในขณะเดียวกันกฎหมายก็ได้ให้สิทธิผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยัง ก.พ.ค. ซึ่งเป็นองค์กรภายในฝ่ายปกครองที่เหนือกว่าเพื่อตรวจสอบ ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองแต่ปรากฏว่า ก.พ.ค. ไม่มีอำนาจในการเพิ่มโทษได้ (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการรายงานการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการพลเรือนและการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไปยัง ก.พ.ค. ให้สอคคล้องกัน อย่างเป็นระบบ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4176 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 22.29 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License