กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4179
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problems of criminal record disclosure and the right to privacy under the constitution
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณวิภา เมืองถํ้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ยงยุทธ ศรีพรม, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาชญากร
อาชญากร--การคุ้มครอง
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระ เรื่องการศึกษากรณีปัญหาการขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาแนวคิดทฤษฎีและหลักการปัญหาการขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายกรณีปัญหาการขึ้นประวัติอาชญากรภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยและเปรียบเทียบต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับปัญหาการขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ เพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายปัญหาการขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการตำราหนังสือบทความ รายงานการวิจัย รายงานวิชาการต่างๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ผลการวิจัย ผลการศึกษา พบว่า การขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากรของไทย มีกระบวนการจัดทำทะเบียนประวัติเมื่อบุคคลที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือผู้ถูกกล่าวหา โดยให้พนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานี แล้วส่งไปตรวจยังกองทะเบียนประวัติอาชญากรและจะจัดเก็บในรูปแบบทะเบียนประวัติอาชญากรเพื่อใช้ในภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้บุคคลที่สามหรือหน่วยงานของรัฐอื่นๆ เข้าถึงหรือแทรกแซงประวัติอาชญากร ซึ่งทะเบียนประวัติอาชญากรถือเป็นสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลตามรัฐธรรมนูญ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับปัญหาการขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากร พบว่าจะต้องพิจารณาตามทฤษฎีทางอาญาสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ข้อเสนอแนะ พบว่าปัจจุบันแนวความคิดของการคงไว้ซึ่งทะเบียนประวัติอาชญากรมีการเปลี่ยนแปลง หลายประเทศเริ่มมีแนวความคิดของการลบทะเบียนประวัติอาชญากรมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ดังนั้นควรแก้ไขประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดีลักษณะ 32 บทที่ 4 ในการลงรายการในทะเบียนประวัติอาชญากรเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้ลงโทษแล้ว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรมีการพิจารณาปรับเปลี่ยนถ้อยคำ “ประวัติอาชญากร” เปลี่ยนเป็นคำว่า “ประวัติผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา” และเห็นควรตราพระราชบัญญัติทะเบียนประวัติอาชญากรเป็นกฎหมายเฉพาะฉบับใหม่ โดยการนำรูปแบบกระบวนการและแนวนโยบายในการลบทะเบียนประวัติอาชญากรจากรูปแบบของประเทศฝรั่งเศสมาเป็นแนวทางในการปรับใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4179
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons