กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/417
ชื่อเรื่อง: | การใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อลดวัตถุดิบที่สูญเสียในกระบวนการบดวัตถุดิบในโรงงานปูนซีเมนต์ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ ชนะ ภูมี, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สมทรง อินสว่าง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ เทคโนโลยีสะอาด โรงงานปูนซีเมนต์ |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาจุดที่มีการสูญเสียวัตถุดิบที่เป็นทรายในกระบวนการบดวัตถุดิบ 5 (2) ศึกษาหาแนวทางการนำเทคโนโลยีสะอาดมาใช้เพื่อลดการสูญเสียจากการอุดตันที่ถังทราย (3) ศึกษาหาแนวทางปรับเปลี่ยนวิธีการสอบเทียบชุดสายพานเครื่องชั่งป้อนวัตถุดิบ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียวัตถุดิบในการสอบเทียบ (4) ศึกษาหาแนวทางการนำ เทคโนโลยีสะอาดมาใช้ลดการสูญเสียวัตถุดิบในกระบวนการป้อนวัตถุดิบผสมและวงจรการบด (5) คาดประมาณค่าใช้จ่ายที่ลดลงจากการสูญเสียวัตถุดิบที่ลดลงของกระบวนการบดวัตถุดิบ 5 จากการดำเนินการตามแนวทางข้อ (1)-(4) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ วัตถุดิบสูญเสียที่ถังทราย วัตถุดิบสูญเสียที่เก็บจากกระบวนการป้อนวัตถุดิบผสมและวงจรการบดโดยนำข้อมูลปริมาณวัตถุดิบสูญเสียรายวันทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนก้นถังทราย จำนวนอย่างละ 40 - 60 วัน ข้อมูลปริมาณวัตถุดิบสูญเสียจากการสอบเทียบเครื่องวัดชุดป้อนวัตถุดิบในลักษณะเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบก้นถังทรายใหม่ และแบบบันทึกซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลที่อ่านค่าจากจอคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมกระบวนการผลิต สถิติที่ใช้สำหรับการทดสอบความเบี่ยงเบนของค่าเฉลี่ย คือ การทดสอบที และใช้ตารางคำนวณเงินลงทุนและเงินที่ประหยัดได้รวมถึงระยะเวลาคืนทุนจากการดำเนินการใช้เทคโนโลยีสะอาด ผลการวิจัยพบว่า (1) การสูญเสียวัตถุดิบมากที่ถังทรายต่อตันผลผลิตลดลงประมาณ 140 เท่าคือ จาก 0.4303 กิโลกรัมต่อตันผลผลิต เป็น 0.003 กิโลกรัมต่อตันผลผลิต (2) การสอบเทียบเครื่องวัดชุดสายพานป้อนวัตถุดิบวิธีใหม่ที่ใช้โซ่มาตรฐาน ทำให้ไม่มีการสูญเสียวัตถุดิบเลย (3) การปรับการควบคุมระดับถังพักวัตถุดิบสูญเสีย และวงจรการบด ทำให้ปริมาณการสูญเสียวัตถุดิบผสมต่อตันผลผลิตลดลง 8 เท่าคือจาก 4.22 กิโลกรัมต่อตันผลผลิต เหลือ 0.5367 กิโลกรัมต่อตันผลผลิต และ (4) การดำเนินการในข้อ (1)-(3) ข้างต้น สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากการสูญเสียวัตถุ ดิบได้ประมาณ 792,000 บาทต่อปี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/417 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License