กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4190
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อแนวทางการพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดกระบัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions of basic education school board members toward guidelines for role development of basic education school boards in schools under the Lat Krabang District Office, Bangkok Metropolitan Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัตนา ดวงแก้ว
วัลย์วิภา กร่างกลาง, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรืยบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อแนวทางการพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดกระบัง จำแนกตามกลุ่มผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (2) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดกระบัง 20 แห่ง จำนวน 169 คน จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้แทนสถานศึกษา กลุ่มผู้แทนชุมชน และกลุ่มผู้แทนผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยง .93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ไต้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ความแปรปรวน การทดสอบสมมติฐานใช้ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อแนวทางการพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดกระบัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมโดยจำแนกตามกลุ่มผู้แทนพบว่า ไม่แตกต่างกัน และ(3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทาง การพัฒนาบทบาทหน้าที่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความต้องการ การพัฒนาการเรียนรู้เพื่มเติมใน 3 แนวทาง ได้แก่ การประชุมอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในงานที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติงานอย่างมีส่วนร่วม และการศึกษาดูงานสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4190
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_130115.pdf11.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons