กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4201
ชื่อเรื่อง: | ผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Eligibility to raise objection to the election of members of local assemblies or local administrators |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช วชิราวุฒิ หัวเพชร, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การเลือกตั้ง การเลือกตั้งท้องถิ่น การปกครองท้องถิ่น กฎหมายเลือกตั้ง การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง ผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษากฎหมายการเลือกตั้งและผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศและในประเทศไทย (3) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย และ (4) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปรับปรุงข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้า ข้อมูลจากหนังสือ ตำราทางกฎหมาย บทความ วิทยานิพนธ์ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ได้กำหนดโดยรวมเกี่ยวกับผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกประเภทไว้ 3 กรณี ได้แก่ (1) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบคน (2) ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และ (3) ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอในเขตเลือกตั้งนั้น ส่งผลให้บางกรณี เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมีการแบ่งเขตเลือกตั้งในลักษณะที่ไม่ครอบคลุมเขตพื้นที่ทั้งหมดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กอย่างองค์การบริหาร ส่วนตำบลที่มีหลายเขตเลือกตั้งและมีจำนวนประชากรผู้มีสิทธิคัดค้านการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นจำนวนน้อยกว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทอื่น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งอื่นที่ใกล้ชิดเมื่อได้พบเห็นกับการกระทำอันเป็นมูลเหตุให้เกิดการร้องคัดค้านได้นั้น ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ประกอบกับปัจจุบันกระบวนการคัดค้านการเลือกตั้งมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนขึ้นเพื่อกลั่นกรองบุคคลผู้คัดค้านที่มีส่วนได้เสียในการเลือกตั้งได้มากขึ้น ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิคัดค้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางรูปแบบ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล สามารถใช้สิทธิร้องคัดค้านการเลือกตั้งได้ในทุกเขตการเลือกตั้งภายในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4201 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License