กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4258
ชื่อเรื่อง: กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต กรณีร่ำรวยผิดปกติตามพันธกรณีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Law on prevention and suppression of corruption in the case of unusual wealth in accordance with the United Nations Convention Against Corruption 2003
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพาณิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณิศา ยาวิไชย, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การทุจริตและประพฤติมิชอบ--ไทย
การทุจริตและประพฤติมิชอบ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวความคิดทฤษฎีการต่อต้านการทุจริต และความร่วมมือระหว่างประเทศ ศึกษาหลักการและกฎเกณฑ์ทางกฎหมายของอนุสัญญสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรณีร่ำรวยผิดปกติ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวย โดยผิดปกติ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ.2003 ก่อให้เกิดหน้าที่ในการปฏิบัติพันธกรณีแห่งอนุสัญญาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายภายในของประเทศไทยเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งควรกำหนดให้ความผิดเรื่องร่ำรวยผิดปกติเป็นความผิดทางอาญา และควรตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของเจ้าพนักงานของรัฐ โดยใช้การสุ่มตรวจ เป็นครั้งคราวมาปรับใช้ เพื่อเป็นการป้องกันปราบปรามการตรวจสอบทรัพย์สิน กรณีร่ำรวยผิดปกติ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ออกหลักเณณฑ์ในการพิจารณาออกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับแนวทางในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว และควรให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ออกหลักเกณฑ์หรือระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์ที่ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์สิน รวมทั้งจัดตั้งสำนักงานบริหารทรัพย์สินขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อรวบรวมทรัพย์สินและบังคับเอาแก่ทรัพย์สินให้ตกเป็นของแผ่นดินต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4258
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons