กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4262
ชื่อเรื่อง: | การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Code of conduct of the incumbent local politics |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธวัชชัย สุวรรณพานิช วราพร ศรีเจริญ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี จริยธรรมการเมือง |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิดทฤษฎี เกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศ (2) ศึกษาประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นเปรียบเทียบกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับชาติ และกฎหมายต่างประเทศ (3) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น (4) นำเสนอมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากตำรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด ทฤษฎี กฎหมาย คำพิพากษา และสภาพปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นเป็นเพียงคำแนะนำหรือวิธีการปฏิบัติ การบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น ในปัจจุบันมีปัญหาในการใช้บังคับที่ไม่เป็นรูปธรรม ไม่ได้กำหนดโทษขั้นรุนแรงสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นที่กระทำผิดจริยธรรม ขาดสภาพบังคับทางกฎหมาย การอยู่ร่วมกันในสังคมต้องสร้างกติกาขึ้นมาบังคับ การบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเป็นกติกาการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข กฎหมายกำหนดโทษขึ้นมาเพื่อลงโทษผู้กระทำผิด ผู้ศึกษาจึงได้เสนอแนะการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เช่นให้มีการตราออกใช้ “ประมวลจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น” เป็นกฎหมายบังคับใช้โดยทั่วไปในลักษณะอย่างเดียวกับจรรยาบรรณ ใช้เป็นฉบับเดียวครอบคลุมท้องถิ่นทุกแห่ง กำหนดให้มีองค์กรกลางในการควบคุมกำกับดูแลการดำเนินการสอบสวนคดีเกี่ยวกับจริยธรรม ให้คณะกรรมการจริยธรรม มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยกันเอง ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้จริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของทางราชการ แก้ไขเพิ่มเติมบทลงโทษควรมีการกำหนดบทลงโทษเพิ่มเติมตามความร้ายแรงของพฤติการณ์ และเพิ่มเติมการกำหนดคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้ง กรณีกระทำผิดประมวลจริยธรรม ในกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4262 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License