กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4282
ชื่อเรื่อง: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A comparison of physics achievement and attitudes toward physics resulting from learning activities by the 7E inquiry approach and learning activities based on the teacher's manual approach of Mathayom Suksa V students at Pathai School in Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญเรือน คะเซ็นแก้ว, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--ฟิสิกส์
ฟิสิกส์--กิจกรรมการเรียนการสอน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ของ นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม คู่มือครู และ (2) เปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ 7 ขั้น และ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 82 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม สุ่มเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครู เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น และแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ตามคู่มือครู จำนวน 8 แผน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบวัดเจตคติต่อวิชา ฟิสิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น สูงกว่ากลุ่มได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครูอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นมีเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4282
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_134743.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons