กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/431
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวด้านสังคม และด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The factors related to social and learning adaptation of Mathayom Suksa I students in the General Education program of Phrapariyattidharma schools in Ubonratchatani province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โกศล มีคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์ จันทร์กวี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐานวดี สายเนตร, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว --วิทยานิพนธ์
นักเรียนมัธยมศึกษา
การปรับตัวทางสังคม
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสัมพันธ์เปรียบเทียบมีจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ (1)เพื่อศึกษาจิตลักษณะที่เกี่ยวของกับพฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคมและด้านการเรียนของนักเรียน (2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคมและด้านการเรียนของนักเรียน (3) เพื่อเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์ทํานายระหว่างตัวแปรกลุ่มจิตลักษณะตัวแปรสถานการณ์ทางสังคมกับกลุ่มตัวแปรทั้งสองรวมในการทํานายพฤติกรรมการปรับตัว ด้านสังคมและด้านการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีปีการศึกษา 2545 จํานวน 300 รูป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดมาตรประมาณรวมค่า จํานวน 7แบบวัด แต่ละแบบวัดมีขอคําถาม 10 ถึง 25 ของค่าความเที่ยง ตั้งแต . 62 ถึง .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง และ 3 ทาง การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ การวิเคราะห์กระทําทั้งในกลุ่มรวมและกลุมย่อยที่แบ่งโดยใช้ลักษณะทางชีวสังคมหรือ ภูมิหลังของนักเรียนการวิจัยพบผลที่สําคัญ คือ (1) สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคมและด้านการเรียน คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อน และการยอมรับกฎระเบียบของโรงเรียน (2) จิตลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคมและด้านการเรียน คือ สุขภาพจิต (3) ชุดตัวทํานายที่ประกอบด้วยจิตลักษณะเดิม 3 ตัวแปร สถานการณ์ทางสังคม 3 ตัวแปรรวมกันสามารถทํานายพฤติกรรมการปรับตัวด้านสังคมและด้านการเรียนของนักเรียนได้มากกว่ากลุ่มตัวแปรใดกลุ่มหนึ่งตามลําพัง (เกิน รอยละ 5 ) เฉพาะในบางกลุมย่อยเท่านั้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนว))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/431
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
81269.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons