กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4323
ชื่อเรื่อง: การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องประเพณี ตำนาน นิทานพื้นบ้านเพชรบูรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The construction of supplementary reading on customs, chronicles, Phetchabun folk lore for Mattayom Suksa I students in Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิรักษ์ อนะมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประพันธ์ สีทอนสุด, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
นิทานพื้นเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
หนังสืออ่านประกอบ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ประเพณี ตำนาน นิทานพื้นบ้านเพชรบูรณ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดเพชรบูรณ์ และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมการศึกษามีวิธีดำเนินการ ดังนี้ (1) กำหนดลักษณะของหนังสือ (2) สร้างและพัฒนา หนังสือ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาและคุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ประเมินโดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และตรวจสอบคุณภาพหนังสือ โดย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 10 คน โดยใช้ แบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาค้นคว้ามีดังนี้ (1) หนังสือที่สร้างขึ้นมีขนาด 18.5 x 26 เซนติเมตร เนื้อหา ของหนังสือประกอบด้วย บทที่ 1 ความเป็นมาของจังหวัดเพชรบูรณ์ บทที่ 2 ประเพณีพื้นบ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ ประเพณีก่อเจดีย์ทรายกลบธาตุ ประเพณีฟ้อนเสื้อ แถบลาน ประเพณีเล่นตับเต่า ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพ บทที่ 3 ตำนานพื้นบ้านจังหวัด เพชรบูรณ์ ได้แก่ ตำนานพ่อขุนผาเมือง ตำนานเมืองศรีเทพ ตำนานเจ้าพ่อศรีเทพ (เมืองล่ม) ตำนาน บึงสามพัน ตำนานนครเดิด ตำนานวัดช้างเผือก และ บทที่ 4 นิทานพื้นบ้านจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ นิทานเรื่องคนช่างคิด นิทานเรื่องค่าของคน นิทานเรื่องสามเณรมั่น สามเณรคง นิทานเรื่องชี้หิน และนิทานเรื่องขายปัญญา (2)การตรวจสอบคุณภาพหนังสือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความ สอดคล้องอยู่ระหว่าง (0.67-1.00 สรุปได้ว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม (3)การ ตรวจสอบคุณภาพหนังสือโดยนักเรียน จํานวน 10 คน นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหนังสืออ่าน เพิ่มเติมในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4323
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_125857.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons