กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4354
ชื่อเรื่อง: การดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Processing for licensing facilitation Act, B.E.2558 (2015)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
วิไลลักษณ์ ลุวีระ, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระ เรื่องการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ศึกษาเฉพาะกรณีกระบวนการดำเนินงานระดับจังหวัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา วิวัฒนาการของแนวคิด นโยบาย วิธีการ การให้บริการประชาชนของภาครัฐ วิเคราะห์พระราชบัญญัติฉบับนี้ในฐานะที่เป็นกฎหมายมหาชน ที่มุ่งด้านการจัดระบบบริหารราชการในด้านการบริการประชาชน โดยพัฒนาระบบการบริการของรัฐ พิจารณาการปฏิบัติของส่วนราชการที่รับผิดชอบการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ รวมทั้งเปรียบเทียบกับกฎหมายในลักษณะเดียวกันของประเทศสิงคโปร์และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ตลอดจนหาแนวทางปรับปรุง เสนอแนะการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และพัฒนากฎหมายเพื่อการบริการประชาชนของรัฐต่อไป การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย ตำราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการจากเอกสาร นิตยสารทางกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลจากเว็บไซต์ ทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ศึกษามั่นใจว่าข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าเป็นข้อมูลที่แท้จริงและถูกต้องน่าเชื่อถือได้ ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการบริการของรัฐแต่เดิมนั้นมีความล่าช้า เนื่องจาก องค์กรภาคราชการเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีขั้นตอน กฎ ระเบียบ มีความสลับซับซ้อน มีกฎหมายที่จะต้องอนุญาตจากทางราชการเป็นจำนวนมาก และเมื่อพระราชบัญญัตินี้ได้มีการบังคับใช้ ทำให้การบริการของรัฐมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติราชการ ขั้นตอนกระบวนการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีความชัดเจน และมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริการและการลดการทุจริตคอร์รัปชั่นไว้ ดังนี้ พัฒนาระบบรัฐ อิเล็กทรอนิกส์(E-Goverment) ให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ให้มีการสนับสนุนในการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้ในราชการอย่างกว้างขวางเช่น การยื่นแบบออนไลน์ การจัดซื้อจัดจ้างทำให้ลดความล่าช้า และการเรียกรับสินบน ปรับปรุงกฎหมายที่เป็นปัญหา อุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ โดยจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา จำนวน ๑ ชุด เพื่อพิจารณาทบทวนกฎหมาย ตลอดจนเพิ่มอำนาจหน้าที่ขององค์กรตรวจสอบเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบในวงราชการให้มีอำนาจหน้าที่กว้างขวางขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons