Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4363
Title: | ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายโครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ |
Other Titles: | Problems concerning the legal status, structure and authority of the Constitutional Court |
Authors: | เสาวนีย์ อัศวโรจน์ วุฒิพงศ์ ผจงจิตสม, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี ศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจตุลาการ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด หลักเกณฑ์ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ ศาลรัฐธรรมนูญ ตลอดจนศึกษาเปรียบเทียบศาลรัฐธรรมนูญในต่างประเทศกับศาลรัฐธรรมนูญของประเทศไทย เพื่อให้ทราบถึงสภาพปัญหาและแนวทางที่เหมาะสมไปใช้ในการกำหนดสถานะทางกฎหมาย โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญให้มีความเหมาะสมสำหรับประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปของการวิจัยเอกสาร โดยเน้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทางกฎหมายเพื่อหาคำตอบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตลอดจนการค้นคว้าข้อมูลทางกฎหมายจากตำรา หนังสือ บทความ งานวิจัย ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษา และการสืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ ผลจากการศึกษาพบว่า ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ยังคงมีปัญหาบางประการเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมาย โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่ เนื่องจากยังขาดความชัดเจนและไม่มีความเหมาะสม โดยมีข้อเสนอแนะจากการวิจัย ดังนี้ สถานะทางกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ ควรกำหนดให้ชัดเจนดังเช่น ศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมัน โดยการกำหนดให้อยู่ในหมวดศาล โครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญ ควรกำหนดองค์ประกอบเสียใหม่เพื่อให้สอดคล้องต่อภารกิจและอำนาจหน้าที่ โดยคำนึงถึงสัดส่วนของผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในด้านการบริหารบ้านเมืองและในด้านกฎหมายโดยเฉพาะในสาขากฎหมายมหาชนประกอบกัน และให้เพิ่มองค์คณะของศาลรัฐธรรมนูญเป็น 2 องค์คณะ ดังเช่นศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมัน เพื่อรองรับปริมาณคดีที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ควรกำหนดให้สูงจนเกินไป โดยให้องค์กร ที่ทำหน้าที่ในการคัดเลือกและสรรหาเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจ ดังเช่นการแต่งตั้งศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือตุลาการรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสซึ่งไม่มีการกำหนดคุณสมบัติไว้ การคัดเลือกและสรรหา ตลอดจนการให้ความเห็นชอบตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ควรกำหนดให้ตัวแทนขององค์กรที่มีพื้นฐานโดยตรงมาจากประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม ดังเช่นการแต่งตั้งศาลสูงสุดของรัฐบาลกลางในประเทศสหรัฐอเมริกาหรือตุลาการรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศสหรือศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมัน และยังควรให้ตัวแทนขององค์กรที่มีพื้นฐานโดยตรงมาจากประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับการให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระและการแต่งตั้งบุคคลให้ทำหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชั่วคราวด้วย สำหรับการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ควรกำหนดหลักเกณฑ์ที่นำไปสู่กระบวนการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีเหตุคัดค้านและกระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อตำแหน่งหน้าที่ดังเช่นการคัดค้านตุลาการศาลรัฐธรรมนูญของประเทศเยอรมัน นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบปัญหาบางประการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งควรจะได้รับการศึกษาในเชิงลึกต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4363 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License