Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/438
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในจังหวัดอุดรธานี
Authors: สมโภช รติโอฬาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ เกยุรานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมเดช ศรีทัด, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุม
บุคลากรสาธารณสุข--ไทย--อุดรธานี
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินระดับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในจังหวัดอุดรธานี (2) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แรงจูงใจในการทำงานทรัพยากรการบริหารและกระบวนการบริหารกับระดับการปฏิบัติงานตามบทบาท (3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แรงจูงใจในการทำงาน ทรัพยากรการบริหารและกระบวนการบริหาร กับผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (4) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอุดรธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงอธิบาย แบบภาคดัดขวาง ประชากรที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 204 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นในส่วนต่างๆ ดังนี้ ความร่วมมือของชุมชน 0.90 ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก 0.68 แรงจูงใจในการทำงาน 0.87 กระบวนการบริหาร 0.81 และการปฏิบัติงานตามบทบาท 0.87 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุดและไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) การปฏิบัติงานตามบทบาทของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.10 ผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 71.60 (2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับระดับการปฏิบัติงานตามบทบาท พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 คือ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทํางาน ได้แก่ จํานวนหมู่บ้านและประชากรในเขตรับผิดชอบปัจจัยด้านแรงจูงใจ ได้แก่ แรงจูงใจด้านสัมพันธภาพในการทํางาน แรงจูงใจด้านโอกาสความเจริญก้าวหน้าในการทํางาน ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารโดยรวม ได้แก่ การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารงานบุคคล การควบคุมกํากับ ภาวะผู้นํา การประเมินผล (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า ปัจจัยด้านการได้รับการฝึกอบรม ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.05 (4) ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในจังหวัดอุดรธานี ได้แก่ งบประมาณไม่เพียงพอ สื่อสุขศึกษาไม่เพียงพอ ทรายกำจัดลูกน้ำ น้ำยาหมอกควัน ไม่เพียงพอ และองค์การบริหารส่วนตำบล มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกน้อย
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/438
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77212.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.35 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons