กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4411
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between administrator's leadership styles and work performance happiness of teachers in Ko Pha-ngan network schools under the Office of Surat Thani Primary Education Service Area 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เข็มทอง ศิริแสงเลิศ
วรรณกร วณิชชาภิวงศ์, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทำงาน--แง่จิตวิทยา
ความสุข
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (2) ความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายเกาะ พะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของ ผู้บริหาร กับ ความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 ปีการศึกษา 2556 อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยปรากฎว่า (1) โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นว่าผู้บริหารมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่นและอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ด้านคุณลักษณะ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านพฤติกรรม และ ด้านการสร้างแรงดลใจ (2) ความสุขในการทำงานของครู อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และ (3) ในภาพรวมแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุขในการทำงานของครูในโรงเรียนเครือข่ายเกาะพะงัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความสุขในการทำงานของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านการสร้างแรงดลใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับตํ่ากับความสุขในการทำงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4411
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_151042.pdf12.43 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons