กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4426
ชื่อเรื่อง: ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Issue on exercising the right of claim for compensation from public official who committed wrongful act
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุภฤกษ์ สมสะอาด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--ละเมิด
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาประวัติความเป็นมา และแนวคิดเกี่ยวกับการกระทำทางละเมิดของฝ่ายปกครอง และการใช้สิทธิเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิด รวมทั้งการใช้มาตราการบังคับทางปกครองกับเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิด ตามมาตรา 10 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตลอดจนกระบวนการและขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ พร้อมวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าวและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร เป็นสำคัญ ด้วยการค้นคว้า รวบรวมจากกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ บทความ ตำราวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ คำวินิจฉัย ตัวบทกฎหมาย ตลอดจนข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดอายุความที่ให้หน่วยงานของรัฐใช้สิทธิเรียกร้องภายในสองปีนับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการกระทำละเมิดและรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน และในกรณีที่หน่วยงานของรัฐเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิด แต่กระทรวงการคลังตรวจสอบแล้วเห็นว่าต้องรับผิด หน่วยงานของรัฐก็จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งตามความเห็นของกระทรวงการคลัง การกำหนดอายุความดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติและไม่อาจดำเนินให้บรรลุผลของการบังคับให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติมาตรา 10 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เพื่อให้มีความเหมาะสมและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4426
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons