กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4430
ชื่อเรื่อง: กฎหมายยุติธรรมชุมชนเปรียบเทียบศึกษาเฉพาะร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชน พ.ศ....และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน พ.ศ....กับกฎหมายยุติธรรมชุมชนสกอตแลนด์และกฎหมายศูนย์ยุติธรรมชุมชน รัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Comparative of community justice law studying only the Community Justice Draft Bill B.E….and promoting mediation dispute in Community Draft Bill B.E….with Community Justice (Scotland) Act and the Community Justice Centres Act New South Wales, Australia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช
เศรษฐสิทธิ์ บุญสวัสดิ์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์--สกอตแลนด์
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์--ออสเตรเลีย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ลักษณะ รูปแบบ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางเลือก และยุติธรรมชุมชน ศึกษาหลักเกณฑ์ของกฎหมายยุติธรรมชุมชนของประเทศสกอตแลนด์ และกฎหมายศูนย์ยุติธรรมชุมชน รัฐนิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย และนำมาศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ กับหลักเกณฑ์ของร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชน พ.ศ.... และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน พ.ศ.... ของประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากหนังสือกฎหมาย วิทยานิพนธ์ เอกสารสัมมนาทางวิชาการ และบทความทางกฎหมาย ผลการศึกษาพบว่า ยุติธรรมชุมชน คือ กระบวนการอำนวยความยุติธรรมทางเลือกที่เน้นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหรือข้อพิพาท และหันเหหรือเบี่ยงเบนการนำข้อพิพาทดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก โดยหลักจะมีสามฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง คือ ผู้เสียหายหรือเหยื่อผู้กระทำความผิด และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และร่วมมือหรือให้การสนับสนุนการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนกัน เปิดพื้นที่ให้ชุมชนตั้งแต่รากหญ้าให้มีส่วนร่วมในงานยุติธรรมซึ่งถือว่าเป็นระบบย่อยของชุมชน เพื่อให้เกิดการควบคุมและป้องกันการเกิดอาชญากรรมในชุมชน ชุมชนต้องจัดการแก้ไขปัญหา เยียวยาผู้เสียหาย แก้ไขบำบัดฟื้นฟูและรับตัวผู้กระทำความผิดกลับคืนสู่สังคมตามทฤษฎีพันธะทางสังคมที่เห็นว่าอาชญากรรมเป็นผลมาจากความบกพร่องของชุมชน มิได้เกิดผลกระทบต่อคู่กรณีเท่านั้น แต่เกิดผลกระทบต่อชุมชนด้วย ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบในลักษณะ non-zero sum gane ตามร่างกฎหมายของไทยยังขาดความเป็นหุ้นส่วน ขาดความไว้วางใจชุมชนเห็นควรเสนอเพิ่มเติมให้ชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4430
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons