กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/444
ชื่อเรื่อง: การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอก ในการกำจัดซัลเฟตในน้ำทิ้งจากเหมืองแม่เมาะ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปีติ พูนไชยศรี
สุมิตร จำปา, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ผักตบชวา--การใช้ประโยชน์
จอก (พืช)--การใช้ประโยชน์
น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดซัลเฟต
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอกในการกำจัดซัลเฟตในนํ้าทิ้งจากเหมืองแม่เมาะและศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำผักตบชวาและจอกไปใช้ในการกำจัดซัลเฟตในนํ้าทิ้งจากแหล่งอื่นก่อนปล่อยสู่แหล่งนํ้าธรรมชาติ นํ้าทิ้งจากเหมืองแม่เมาะมีปริมาณซัลเฟตเฉลี่ย 1,069 มิลลิกรม/ลิตร ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานนํ้าทิ้งที่หลายประเทศกำหนด จึงได้ทำการกำจัดซัลเฟตในนํ้าทิ้งโดยการใช้ผักตบชวาและจอก ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่น ด้วยการเก็บกักนํ้าไว้ในถังขนาด 100 ลิตร จำนวน 6 ถัง ตลอดระยะเวลา 30 วัน ดำเนินการทดลองซ้ำ 5 ครั้ง เปรียบเทียบประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอกโดยการเปลี่ยนแปลงตัวแปรคือ ผักตบชวาหรือจอก ความลึกของนํ้า การครอบคลุมผิวนํ้าของพืชนํ้า และระยะเวลากักเก็บนํ้า ผลการวิจัยพบว่าผักตบชวาและจอกในถังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ความลึกของนํ้า 80 เซนติเมตรและถังขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 เซนติเมตร ความลึกของนํ้า 38 เซนติเมตร ในระยะเวลาเก็บกักนํ้า 30 วัน สามารถลดปริมาณซัลเฟตในนํ้าได้ดีกว่าถังควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประสิทธิภาพในการลดปริมาณซัลเฟตของผักตบชวาและจอกไม่แตกด่างกันทางสถิติ ความลึกของนํ้าก็ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการลดปริมาณซัลเฟต การครอบคลุมพื้นที่ผิวนํ้าของผักตบชวาและจอกเติมพื้นที่ผิวนํ้าสามารถลดปริมาณฃัลเฟตได้ร้อยละ 28.8 และ 30.2 ตามลำดับ และการครอบคลุมพื้นที่ผิวนํ้าของผักตบชวาและจอกร้อยละ 80 สามารถลดปริมาณซัลเฟตได้ร้อยละ 27.6 และ 28.2 ตามลำดับอย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอกในการลดปริมาณซัลเฟตในนํ้าทิ้งขึ้นอยู่กับระยะเวลาเก็บกัก โดยผักตบชวาและจอกมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณซัลเฟตได้สูงระหว่างระยะเวลาเก็บกักนํ้าทิ้งนาน 5-20 วัน โดยประสิทธิภาพการลดปริมาณฃัลเฟตมากที่สุดในวันที่ 5 จะน้อยลงหลังจากวันที่ 10 และน้อยที่สุดตั้งแต่วันที่ 20
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/444
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77214.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons