Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/445
Title: พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Internet use behaviors of business administration graduate students of private universities in Bangkok and its vicinity
Authors: ชุติมา สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทิมา เขียวแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
จงกล พิชิตธนปัญญา, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
อินเทอร์เน็ต--การศึกษาการใช้
Issue Date: 2549
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตจุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจาก 15 สถาบัน จำนวน 398 คน การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาส่วนใหญ่มีประสบการณ์การใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 3 ปี วัตถุประสงค์การใช้อินเทอร์เน็ตคือ เพื่อการศึกษา ความถี่ในการใช้อินเทอร์เน็ตคือ ใช้ทุกวันช่วงเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตสูงสูดคือ ช่วงเวลากลางคืน สถานที่ใช้อินเทอร์เน็ตคือ ที่บ้าน และที่ทำงาน ประเภทของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เป็นประจำคือ บริการเวิลด์ไวฅ์เว็บ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตคือ ธุรกิจการด้า เครื่องมือที่ใช้ในการด้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตคือ กูเกิล นักศึกษาเรียนวิธีการใช้อินเทอร์เน็ดคือ ศึกษาด้วยตนเอง ส่วนพฤติกรรมจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตพบว่านักศึกษามีพฤติกรรมจริยธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตโดยรวมระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจริยธรรมการใช้อินเทอรเน็ตจำแนกตามเพศ โดยรวมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ได้แก่ ด้านบริษัทให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์และด้านตัวเว็บไซด์
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/445
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (2).pdfเอกสารฉบับเต็ม4.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons