Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/446
Title: ประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพในการลดปริมาณ แบคทีเรียในน้ำเสียประเภทโรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง
Authors: ศริศักดิ์ สุนทรไชย
จริยา ผดุงพัฒโนดม, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สมทรง อินสว่าง
ศิริพรรณ วงศ์วานิช
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
น้ำเสีย--การบำบัดโดยชีววิทยา
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพในการลดปริมาณแบคทีเรีย ค่าบีโอดี และปริมาณของแข็งแขวนลอยให้ได้ตามกฎหมายกำหนด (2) หาปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด โคสิฟอร์มทั้งหมด ฟืคัลโคลฟอร์ม และแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารในนํ้าเสีย (3) ทดสอบหาปริมาณคลอรินที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการทำลายเชื้อแบคทีเรียในนํ้าเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วได้ทั้งหมด ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง ใช้ตัวอย่างน้ำเสียของโรงงานอาหารทะเลแช่แข็ง 1 แห่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีระบบบำบัดนํ้าเสียแบบชีวภาพ โดยเก็บตัวอย่างนํ้าเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตและนํ้าใช้อึ่น ๆ ภายในโรงงานก่อนเข้าระบบบำบัดนํ้าเสีย จานวน 30 ตัวอย่าง และนํ้าเสียที่ผ่านระบบบำบัด จำนวน 30 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบบำบัดนํ้าเสีย ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพของระบบบำบัดนํ้าเสียที่โรงงานเลือกใช้สามารถบำบัดนํ้าเสียได้ร้อยละ 40 ให้มีโคสิฟอร์มทั้งหมดมีค่าน้อยกว่า 1,000 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร คุณลักษณะของนํ้าทิ้งก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะเมื่อผ่านระบบบำบัดนํ้าเสียแล้วมีค่าบีโอดีเฉลี่ย 8.7 มิลลกรัมต่อลิตร ปริมาณของแข็งแขวนลอยเฉลี่ย 33.8 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเป็นกรดและด่างเฉลี่ย 7.7 และอุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส ซึ่งมีค่าได้ตามเกณฑ์ควบคุมคุณภาพน้ำทิ้งจากโรงงานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539 (2) นํ้าเสียก่อนการบำบัดมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด มีค่าเฉลี่ย 2.4x109 หน่วยการสร้างโคโลนีต่อ 100 มิลลิลิตร ปริมาณโคลฟอร์มทั้งหมดและฟิคัลโคลฟอร์มเฉลี่ย 1.3X107 และ 1.0X107 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลตร ตามลำดับ พบเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารคอซาลโมเนลลา 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 16.7 สตาฟิโลคอกคัส ออเริยส 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.3 ส่วนนํ้าเสียที่ผ่านระบบบำบัดแล้วมีปริมาณเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด มีค่าเฉลี่ย 8.3x106 หน่วยการสร้างโคโลนีต่อ 100 มิลลิลิตรปริมาณโคลฟอร์มทั้งหมด และฟิคัลโคสิฟอร์มเฉลี่ย 1.4x104 และ 1.1x104 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลสิลตร ตามลำดับ พบเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหารคือ ซาลโมเนลลา และเชื้อสตาฟิโล คอกคัส ออเริยส ชนิดละ 1 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 3.3 (3) ค่าคลอรินที่เหมาะสมที่ใช้ในการฆ่าเชื้อฟิคัลโคสิฟอร์ม เมื่อปริมาณเชื้อเริ่มต้น 105 เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร ต้องใช้ปริมาณคลอริน 2.5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีคลอรินอิสระคงเหลือ 0.07 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อ 30 นาที จึงจะมีประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/446
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77215.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons