กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4473
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีการพิจารณาอุทธรณ์ขององค์กรบริหารงานบุคคลระดับจังหวัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The problems of the discipline of local officials : a case study on the consideration of appeals of provincial personnel administration bodies
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธวัชชัย สุวรรณพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมใจ ชุ่มพะลัย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ข้าราชการส่วนจังหวัด--วินัย
วิธีพิจารณาความอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ขององค์กรบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด (2) ศึกษาหลักกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์ขององค์กรบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด และ (3) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์ขององค์กรบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นระดับจังหวัด การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากวิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความ วารสาร บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการทางวินัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า (1) การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยขององค์กรบริหาร งานบุคคลระดับจังหวัด มีลักษณะซ้ำซ้อน กล่าวคือองค์กรบริหารงานบุคคลระดับจังหวัดมีอำนาจพิจารณาคำสั่งลงโทษทางวินัย ขณะเดียวกันก็มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในกรณีเดียวกันอีก จึงเป็นการพิจารณาผลการพิจารณาของตนเองขัดกับหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง (2) บทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน การลงโทษทางวินัย ตลอดจนการอุทธรณ์ และการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่นยังไม่มีองค์กรที่ทำหน้าที่พิทักษ์ระบบคุณธรรม องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน คือ อนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และร้องทุกข์ และองค์กรบริหารงานบุคคลระดับจังหวัด และ (3) เสนอให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการส่วนท้องถิ่น โดยให้เป็นองค์กรที่มีอำนาจกึ่งตุลาการ โดยเทียบเคียงกับข้าราชการพลเรือน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/4473
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม34.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons